การพัฒนาระบบการดูแลด้านสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • กัลยารัตน์ จตุพรเจริญชัย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
  • จำเนียร สุวรรณชาติ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
  • รัตนชัย เพ็ชรสมบัติ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

คำสำคัญ:

ระบบดูแลด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, แบบจำลองการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานและพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ ประเมินผลงานและสังเคราะห์รูปแบบแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดสระแก้ว โดยมีระยะการดำเนินงานวิจัย 12 เดือน อาสาสมัครประกอบด้วย คณะกรรมการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ทีมสหวิชาชีพ ภาคีเครือข่าย และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 430 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และเทปบันทึกเสียง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิงด้วยสถิติ Paired Samples t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า ระบบดูแลด้านสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดสระแก้ว ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสนับสนุนการดูแลตนเอง โดยพัฒนาศักยภาพของชุมชนและครอบครัวในการดูแลตนเอง และภาครัฐให้การสนับสนุนในส่วนขาด โดยเน้นการดูแลคุณภาพอย่างเท่าเทียม 2) ทีมสหวิชาชีพมีการออกแบบระบบบริการในทุกระดับของสถานบริการอย่างมีประสิทธิภาพ 3) ระบบสนับสนุนการรักษาในกลุ่มที่มีโรคเรื้อรังอย่างมีคุณภาพ 4) มีระบบฐานข้อมูลที่สำคัญที่สหวิชาชีพสามารถใช้ร่วมกันในการดูแลเป้าหมายอย่างเพียงพอ 5) พัฒนาระบบกลไก กระบวนงาน และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง และ 6) การร่วมมือระหว่างชุมชน หน่วยบริการสุขภาพ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ให้เกิดประโยชน์สูงสูด จากการประเมินผลการดำเนินงานพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคะแนนเฉลี่ยรวมด้านการดำเนินกิจวัตรประจำวัน (ADL) คะแนนเฉลี่ยรวมด้านคุณภาพชีวิต และคะแนนเฉลี่ยด้านการมีส่วนร่วมมากกว่าก่อนการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564. หน้า120.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564).: . กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.; 2559.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. รายงานประจำปี 2566. จังหวัดสระแก้ว; 2566.

Bodenheimer T, Wagner EH, Grumbach K. Improving primary care for patients with chronic illness: the chronic care model, Part 2. Jama. 2002;288(15):1909-14.

Bloom Ph.D RS. Stating Educational Objectives in Behavioral Terms. Nursing Forum. 1975;14(1):30-42.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน; 2545.

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ : การจัดการข้อมูล การตีความ และการหาความหมาย. นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552. หน้า163.

Wagner EH, Davis C, Schaefer J, Von Korff M, Austin B. A survey of leading chronic disease management programs: are they consistent with the literature? Managed care quarterly. 1999;7(3):56-66.

ณิสาชล นาคกุล. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่ วยเรื้ อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2561;28(3):36-50.

ประเสริฐ เก็มประโคน, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์, วิไลพร คลีกร. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวและเข้าถึงบริการสําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565;16(1):140-55.

ศศินันท์ สายแวว, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(4):197-212.

อาริษา เสาร์แก้ว. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เทศบาลตำบลป่าตันนาครัว. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2564;9(1):103-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31