การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • ลอองจันทร์ คำภิรานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
  • เสกสรรค์ คงอาชีวกิจ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
  • จำเนียร สุวรรณชาติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การพัฒนารูปแบบ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว และเพื่อศึกษาผลของรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 274 คน ซึ่งได้จากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณสัดส่วนจากตารางของเครจซี่ และมอร์แกนและเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) ครอบครัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) ผู้นำชุมชน 3) นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังสมบูรณ์ 5) CM 6) CG และ 7) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) แบบสังเกต และ4) แนวทางสรุปการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนของความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (ADL) ด้วยสถิติทดสอบ Paired Samples t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
     ผลการวิจัย พบว่า 1) ภายหลังการนำรูปแบบมาใช้ ครอบครัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้นำชุมชน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังสมบูรณ์ CM CG และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีระดับการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อยู่ในระดับมาก และ 2) ภายหลังการนำรูปแบบมาใช้ คะแนนของความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (ADL) ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสูงกว่าก่อนนำรูปแบบมาใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2564.

United Nations, Department of Economic and Social Affairs. World population ageing 2017: highlights. New York: United Nations; 2017

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2559.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. คลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) พ.ศ.2565. สระแก้ว: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว; 2565.

จิราภรณ์ อุ่นเสียม. พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เขตสุขภาพที่ 11. วารสารวิชาการแพทย์ 2559; 30(4): 261-268.

รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, ธมลวรรณ แก้วกระจก, วรรณรัตน์ จงเขตกิจ, ปิยะพร พรหมแก้ว, ดาลิมา สําแดงสาร และดลปภัฎ ทรงเลิศ. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 2561; 11(1): 231–238.

ขวัญรัตน์ บัววิชัยศิลป์, ชัยวุฒิ บัวเนี่ยวและอรุณ บุญสร้าง. กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนนาโปใหญ่ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 5(03): 49-49.

ยศ วัชระคุปต์, วรรณภา คุณากรวงศ์, พสิษฐ์ พัจนา และสาวิณี สุริยันรัตกร. ประสิทธิผลของบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(4): 608-624.

ชาญชัย เหลาสาร, กัลยา ไชยสัตย์ และวชิราภรณ์ วิทยาขาว. การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียง ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 29(5): 813-821.

นันทิกานต์ หวังจิ และ อมรรัตน์ แสงสุวรรณ์. พัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2565; 9(1): 241-256.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31