ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • สุภารัตน์ วัฒนา นายแพทย์ชำนาญการ ประจำโรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ภาวะเสี่ยงหกล้ม,, การหกล้ม, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะเสี่ยงหกล้มและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 136 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรม แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติก และวัดค่าขนาดของความสัมพันธ์ด้วยค่า OR (Odds Ratio) กำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95% ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ภาวะเสี่ยงหกล้มมากที่สุด คือ การกินยาตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป ได้แก่ ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงหกล้ม พบว่า เพศหญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะหกล้มมากกว่าเพศชาย 6.36 เท่า (95%CI=2.57-15.74) ผู้สูงอายุที่เป็นหม้ายมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะหกล้มมากกว่าที่มีคู่ 11.44 เท่า (95%CI=2.59-50.53) ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ศึกษามีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะหกล้มมากกว่าจบการศึกษาประถมศึกษา 9.00 เท่า (95%CI=1.16-69.88) ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานและอาชีพแม่บ้านมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะหกล้มมากกว่าที่มีอาชีพข้าราชการ/ บำนาญ/ รัฐวิสาหกิจ 1.47 เท่า (95%CI=0.15-14.89) ผู้สูงอายุที่เคยหกล้มในรอบปีที่ผ่านมามีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะหกล้มมากกว่าที่ไม่เคยหกล้ม 10.92 เท่า (95%CI=1.42-84.24) และผู้สูงอายุที่นอนฟูกหรือที่นอนวางกับพื้นมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะหกล้มมากกว่าที่นอนบนเตียงนอน 2.26 เท่า (95%CI=1.04-4.89)

References

United Nations, Department of Economic and Social Affairs. World population ageing 2017: highlights. New York: United Nations; 2017.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ้ผู้สูงอายุไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [สืบค้นเมือ 10 มิถุนายน 2566]; เข้าถึงจาก: https://www.thaitgri.org/p=39457

Mesinovic J, Zengin A, De Courten B, Ebeling PR, Scott D. (2019). Sarcopenia and type 2 diabetes mellitus: a bidirectional relationship. Diabetes Metab Syndr Obes. 2019; 8(12): 1057-1072.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ข้อมูลรายงานสถิติการแพทย์ฉุกเฉินระหว่างเดือนมกราคม 2564 - ธันวาคม 2564 จังหวัดตรัง. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมือ 10 มิถุนายน 2566]; เข้าถึงจาก: https://trg.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 1970; 30(3): 607- 610.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุป้องกันได้ด้วยการประเมินและจัดการความเสี่ยง [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566]; เข้าถึงจาก: http://www.thaincd.com/ document/file/download/leaflet/แผ่นพับการพลัดตกหกล้ม.pdf

ชุติมา ชลายนเดชะ. คัดกรองการล้มด้วย Timed Up and Go Test (TUG). วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบําบัด 2557; 26(1): 5-16.

อัศนัย เล่งอี้, พันธพัฒน์ บุญมา. สภาพแวดล้อมในบ้านของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม: กรณีศึกษา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563; 19(3): 43-60.

วนิดา ราชมี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 6. ชลบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี; 2565.

นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา ก๋าวี. การพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

ศิริวรรณ เชาว์โน, พรชัย ขุนคงมี. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงหกล้มของผู้สูงอายุในเขต รับผิดชอบคลินิกหมอครอบครัวตากสิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2565; 18(1): 31-44.

จารุภา เลขทิพย์, ธีระ วรธนารัตน์, ศักรินทร์ ภูผานิล, ศราวุธ ลาภมณีย์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562; 26(1): 85-103.

นงนุช เชาวน์ศิลป์, พิมสุภาว์ จันทนะโสตถิ์, จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ โดยใช้ชุมชนเป็นฐานตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2563.

อัจฉรา สาระพันธ์ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สุงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18: 215-222.

ตวงรัตน์ อัคนาน และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุไทยในชุมชน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564; 14(4): 72-89.

ราพร สืบสุนทร, นงพิมล นิมิตรอานันท์, กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร.ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะของตนต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มและสมรรถนะทางกายของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2562; 44(2): 119-128.

กลุ่มป้องกันการบาดเจ็บจากพลัดตกหกล้ม. การป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค; 2565.

Cheng Z, Li X, Xu H, Bao D, Mu C, Xing Q. Incidence of accidental falls and development of a fall risk prediction model among elderly patients with diabetes mellitus: A prospective cohort study. Journal of clinical nursing. 2023; 32(7-8): 1398-1409.

ณัฐชยา พวงทอง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

อรวรรณ เจือจารย์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุอำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31