การประเมินผลลัพธ์การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การบริบาลทางเภสัชกรรม, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ระดับน้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบไม่มีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัญหาและประเมินผลลัพธ์การบริบาลเภสัชกรรม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีที่มารับการรักษาในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลศรีบุญเรือง จำนวน 86 ราย ซึ่งได้รับการดูแลตามกระบวนการบริบาลทางเภสัชกรรมที่กำหนด ระหว่างกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2567 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผลลัพธ์การบริบาลทางเภสัชกรรมและแบบบันทึกข้อมูลจากรายงานการดูแลผู้ป่วย วิเคราะห์และ อธิบายข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างก่อนและหลังได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมด้วยสถิติ Wilcoxon Matched Pairs Signed Rank Test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีเกิดจากความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย และระหว่างการรักษาเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ซึ่งภายหลังได้รับการดูแลตามกระบวนการบริบาลทางเภสัชกรรมที่กำหนด ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่าง 16.00 - 64.69 mg/dl
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). การวิเคราะห์ผลการประเมิน Global Health Security Index 2021 (พ.ศ. 2564) ประเทศไทย[อินเตอร์เน็ต].2566 [วันที่สืบค้น 25 พ.ย. 66.]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1382520230207055525.pdf.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. กองโรคไม่ติดต่อ. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2562). รายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ. 2562. นนทบุรี: มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2562.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานประจำปี พ.ศ. 2565. กองโรคไม่ติดต่อ. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). แนวปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.
ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา. 2561. ลุยคัดกรองลดภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน ปี 60-61 เกินเป้านับล้านราย [อินเตอร์เน็ต].2566 [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 66]. เข้าถึงได้จาก http://www.nhso.go.th/frontend/NewsinformationDetail. aspx?newsid=MjQxNw==.
Rohlfing, C.L., Wiedmeyer, H.-M., Little, R. R., England, J. D., Tennill, A., & Goldstein, D. E. (2002). Defining the relationship between plasma glucose and HbA1C. Diabetes care, 25(2), 275-278.
Wayne W., D. (1995). Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences (6thed.). John Wiley&Sons, Inc., 177-178
พวงเพชร เพชรโทน. (2563). ผลการบริการทางเภสัชกรรมร่วมกับการให้ความรู้ด้านอาหารให้สอดคล้องตามวถีอีสานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2556). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
เสาวนีย์ วรรละออ, พรทิพย์ มาลาธรรม และอภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. (2555). แรงสนับสนุนจากครอบครัวตามการรับรู้ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. Rama Nurs J. 18(3), 372 - 388.
อัญชนา พืดขุนทด. (2566). การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดอินซูลินโรงพยาบาลบ้านด่าน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 38(1), 237-246.
กานต์ชนก สุทธิผล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลราชบุรี. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 5(2), 1-12.
กฤษดา อินหาดกรวด. (2565). การพัฒนาระบบงานให้คำปรึกษาและติดตามการใช้ยาในคลินิกผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสากเหล็ก. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 3(2), 47-60.
วิกานดา เวชอุบล. (2562). ผลของการบริบาลเภสัชกรรมต่อการควบคุมระดับกลูโคสในเลือดของผู้ป่วยสูงอายุโรงเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อนและหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9013
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย เรื่อง พัฒนารูปแบบการให้บริการวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง). สถาบันเวชศาสตร์พระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สินทวีการพิมพ์ จำกัด.