ผลของกระบวนการให้คำปรึกษาในการทำพินัยกรรมชีวิตต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว

ผู้แต่ง

  • จีระวดี พุทธาสมศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • รัศมี จิตโม้มา นักกายภาพบำบัดชำนาญการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • ชลการ ทรงศรี ผู้ช่วยศาตราจารย์สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ป่วยระยะสุดท้าย, ความวิตกกังวล, พินัยกรรมชีวิต, การรักษาแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความวิตกกังวลหลังการทำพินัยกรรมชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน 29 รายและผู้ดูแลหลัก 32 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินความวิตกกังวล GAD7 ของกรมสุขภาพจิต และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการดูแลแบบประคับประคอง มีค่าความสอดคล้อง (IOC) 0.67-1 มีค่าความเชื่อมั่นของอัลฟ่าครอนบราคเท่ากับ 0.84 ศึกษาระหว่างเดือน เมษายน - มิถุนายน 2567 โดยใช้กระบวนการให้คำปรึกษาและการทำพินัยกรรมชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบการทดสอบค่าที
     ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้ายส่วนใหญ่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 82.8  โดยป่วยระยะสุดท้ายน้อยกว่า 6 เดือนร้อยละ 58.6 ป่วยนานกว่า 6 เดือน ร้อยละ 41.4 ไม่เคยรู้จักการรักษาแบบประคับประคองร้อยละ 75.9 ไม่เคยรู้จักการทำพินัยกรรมชีวิตร้อยละ 100 โดยผู้ป่วยร้อยละ 100 มีระดับความวิตกกังวลก่อนการให้คำทำพินัยกรรมชีวิตอยู่ในระดับน้อย เฉลี่ย 2.52 คะแนน (SD.=2.26) หลังการทำพินัยกรรมชีวิตผู้ป่วยร้อยละ 100 มีคะแนนความวิตกกังวลอยู่ในระดับน้อยคะแนนเฉลี่ย 0.24 คะแนน (SD.=0.58) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และผู้ดูแลจำนวน 32 คน ผู้ดูแลส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี ร้อยละ 75.0 พบว่าผู้ดูแลไม่เคยรู้จักการทำพินัยกรรมชีวิตร้อยละ 90.6 โดยก่อนการทำพินัยกรรมชีวิตผู้ดูแลมีระดับความกังวลเล็กน้อย ร้อยละ 93.8 และระดับปานกลาง ร้อยละ 6.2 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ย 3.69 คะแนน (SD.=3.15) หลังการทำพินัยกรรมชีวิตผู้ดูแลทุกคน ร้อยละ 100 มีความวิตกกังวลอยู่ในระดับเล็กน้อย คะแนนเฉลี่ย 0.44 คะแนน (SD.=0.72) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หลังการทดลองผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อการรักษาแบบประคับประคองอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 100 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.71 คะแนน (SD.=0.36)

References

World Health Organization (2002). National cancer control programs: Policies and managerial guidelines, WHO definition of palliative care.2nd ed [Cited 2024 March 10]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care

เทพภูวิศค์ เตชะสมบูรณะกิจ และคณะ. การศึกษาแนวคิดการสร้างการรับรู้และการทำพินัยกรรมชีวิต (Living will). สถาบันพระปกเกล้า. เอกสารวิชาการกลุ่ม (หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน) ; รุ่นที่ 20 (2564) [Cited 2024 March 10]. Available from: https://kpi-lib.com/library/books/kpibook-28793/

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (นายแพทย์ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา, มติชนออนไลน์, 3/12/2560) [Cited 2024 March 10]. Available from: https://www.tcijthai.com/news/2018/01/scoop/8109

ปิยวดี ศุภสารและวาสินี วิเศษฤทธิ์. การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยและต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์, วารสารทหารบก. 2561 กันยายน – ธันวาคม; 19 (ฉบับพิเศษ): 158-165.

Yun, Y. H., Lee, C. G., Kim, S. Y., Lee, S. W., Heo, D. S., Kim, J. S., ... & You, C. H. The attitudes of cancer patients and their families toward the disclosure of terminal illness. Journal of Clinical Oncology. 2004; 22(2): 307-314.

Sittisombut, S., & Inthong, S.. Surrogate decision-maker for End-of-Life care in terminally ill patients at Chiang Mai University Hospital, Thailand. International Journal of Nursing Practice, 2009; 15(2): 119-125.

Zhou, D. N. P., Jill, C., Parks, M. D., & Susan, M. (2010). Knowledge, attitudes, and practice behaviors of oncology advanced practice nurses regarding advanced care planning for patients with cancer. Oncology Nursing Forum. 2010; 37(6): E400-E410.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดสิทธิการตายอย่างธรรมชาติ กรณีกฎกระทรวงตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ. ศ.2550. กรุงเทพฯ: 3 ดีพริ๊นติงอีควิปเมนท์, 2558.

สรุปข้อมูลศูนย์ดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องโรงพยาบาลโพนพิสัย. เอกสารอัดสำเนา.หนองคาย, 2566.

พศิน ภูริธรรมโชติ. ทัศนคติต่อการทำพินัยกรรมชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำพินัยกรรมชีวิตของผู้ป่วยโรงพยาบาลบรบือ.วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2560 ตุลาคม- มีนาคม; 1(1): 39-50.

Best, J.W. Research in Education. (3 rd ed) Englewood Cliffs, New Jersy: Pretice Hall, Inc. 1977.

Glick KL. Advance directives: barriers to completion. The Journal of the New York State Nurses' Association. 1998 Mar; 29(1): 4-8

Ott BB. Views of African American Nursing Home residents about living wills. Geriatric Nursing (New York, N.Y.). 2008 Mar-Apr; 29(2): 117-24

ลักษณา สุวรรณนิล. ความต้องการของผู้ป่วยและผู้ตัดสินใจแทนเกี่ยวกับการแสดงเจตนาล่วงหน้าในการรักษาพยาบาลระยะสุดท้าย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

พัชรี ชูทิพย์, การปฏิบัติของทีมสุขภาพในการให้/ ยุติการรักษาพยาบาลที่ยืดชีวิตผู้ป่วยวิกฤตในโรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้. · บัณฑิตวิทยาลัย; คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2547. [Cited 2024 March 10]. Available from: https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2553/860/simple-search?filterquery29&filtername=subject&filtertype=equals

วราภรณ์ อ่อนอนงค์. ผลของโปรแกรมการดูแลระยะท้ายของชีวิตที่สงบต่อการรับรู้การตายอย่างสงบในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับยาเคมีบาบัด.วิ ทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561. [Cited 2024 March 10]. Available from: http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_5914032080_7795_10425.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31