การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • จิรวดี อำนาจบุดดี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ระบบสุขภาพชุมชน, ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ, ผู้สูงอายุ, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลระบบ เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน ดำเนินการเดือนกันยายน 2566 ถึง เดือนมิถุนายน 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า ระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี ดำเนินการตาม Candle Model 8 องค์ประกอบ คือ 1) การศึกษาสถานการณ์ปัญหา ระบบสุขภาพชุมชนและระบบบริการสุขภาพในการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน 2) การแต่งตั้งคณะกรรมการ 3) การชี้แจงและถ่ายถอดแนวทางจัดระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด และการถ่ายทอดแนวทางจัดระบบชุมชนจัดการตนเองเพื่อผู้สูงอายุ 4) การจัดทำแผนปฏิบัติการตามรูปแบบ 5) การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ (การค้นหากลุ่มเสี่ยง การส่งเสริม ป้องกัน ควบคุมโรค 6) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ 7) การส่งเสริมศักยภาพผู้เกี่ยวข้อง การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ และ 8) ติดตามประเมินผล/ถอดบทเรียน

References

World Health Organization(WHO). Stroke,Cerebrovascular accident [Internet]. 2021 [cited2022 Jan 12]. Available from:http://www.emro.who.int/health-topics/stroke-cerebrovascular-accident/index.html

พิชญสุดา เชิดสกุล, กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์ และกนกวรรณ ลอยนวล. (2567). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ภาวะหัวใจขาดเลือดชนิด STEMI และกระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) ในผู้สูงอายุ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอเมืองอุบลราชธานีอุบลราชธานี : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี.

อุทัย นิปัจการสุนทร, กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์ และพิชญสุดา เชิดสกุล. (2567). การประเมินการดำเนินงานการพัฒนาต่อยอดเพื่อขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี.

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Stroke) โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI และกระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) แบบบูรณาการ ในเขตสุขภาพที่ 10. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (เอกสารอัดสำเนา)

Kemmis S, McTaggart R. Action research in retrospect and prospect. In The action research reader. Geelong, Vic: Deakin University; 1982.

สุวรรณี แสนสุข และคณะ. (2565). การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร. 8,4: 195-204.

กนกวรรณ ลอยนวล, กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์, อุทัย นิปัจการสุนทร, และ และกัญญารัตน์ กันยะกาญจน์. (2567).รูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI และกระดูกสะโพกหัก แบบบูรณาการ อำเภอเมืองอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31