ผลของโปรแกรมการให้คุณค่าและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินของวัยรุ่นหญิงตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • วันวิสา บุญยืนมั่น โรงพยาบาลปราณบุรี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

การให้คุณค่า, แรงสนับสนุนทางสังคม, การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน, วัยรุ่นหญิง

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คุณค่าและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินของวัยรุ่นหญิงตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการให้คุณค่าและแรงสนับสนุนทางสังคม จำนวน 24คน และกลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับโปรแกรมปกติ จำนวน 24 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลองในช่วงเวลาเดียวกันระหว่างวันที่ 15 มีนาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มด้วยสถิติ paired t-test และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
     ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ทัศนคติต่อการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน การรับรู้ความรุนแรงของการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน การรับรู้ประโยชน์ของการไม่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน การรับรู้อุปสรรคในการไม่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน แรงสนับสนุนทางสังคมในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินที่เหมาะสม และพฤติกรรมการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ทิพย์สุดา พุฒจร และคณะ. (2556), การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาชุมชนสลักคอก จังหวัดตราด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 5(2), 102-117.

ณฐาภพ ระวะใจ, 2554. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. นิพนธ์ปริญญาวท.ม. (สุขศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วารุณี สอนอินทร์, 2558. “พฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นหญิงตอนต้น การตระหนักรู้ คุณค่าในตนเอง”. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 27(1) มกราคม ; หน้า 1-10.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2566). สรุปผลการดำเนินงานงานอนามัยแม่และเด็กปี 2566.

โรงพยาบาลปราณบุรี. (2566). สรุปผลการดำเนินงานงานอนามัยแม่และเด็ก ปี 2566.

Lemeshow, S., Hosmer, D. W. Jr., Klar, J., & Lwanga, S. K. (1990). Adequacy of sample size in health studies. Chichester, England: John Wiley & Sons for the World Health Organization.

นิตยา ศรไชย สุภาพร ใจการุณ และ กุลชญา ลอยหา. (2563). โปรแกรมสุขศึกษาในการสร้างเสริมทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในโรงเรียนชีทวนวิทยาสามัคคี ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2563).

ปิยะมาพร เลาหตีรานนท์ สุมัทนา กลางคาร และเสถียรพงษ์ ศิวินา. (2562). การประยุกต์ใช้โปรแกรมการดูแลตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลนิคมคาสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2562.

โสภิดา ต่อติด. (2558). ผลของการใช้ตัวแบบเพื่อเพิ่มการรับรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุษกร กนแกม. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะชีวิตแบบมีส่วนร่วมต่อความรู้เรื่องเพศศึกษา ทักษะชีวิต และพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นตอนต้น. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภาสิต ศิริเทศ เชิดศักดิ์ เค้าศูนย์ และ จุลีรัตน์ กองสิน. (2563). ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31