การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • ผกาภรณ์ แช่มศรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

     การการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดกระบี่ ทำการศึกษาใน 2 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครูพี่เลี้ยง และผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ส่วนที่ 2 การประเมินประสิทธิผลรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เก็บข้อมูลในกลุ่มครูพี่เลี้ยงเด็ก จำนวน 80 คน (กลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 40 คน) และกลุ่มเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน 80 คน (กลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 40 คน) โดยกลุ่มทดลองจะใช้รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ ใช้รูปแบบเดิมที่ปฏิบัติกันมา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย แบบสอบถาม แบบรายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็ก และแบบบันทึกผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย เก็บข้อมูลก่อนและหลังการศึกษา 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test / Fisher’s exact test, Independent t-test และ Paired t-test
     ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) การจัดประสบการณ์และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยครูพี่เลี้ยงเด็ก 2) การคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3) การติดตามดูแลเยี่ยมบ้าน และ 4) การประเมินผลการพัฒนาเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ผลการใช้รูปแบบที่พัฒนา พบว่า ครูพี่เลี้ยงเด็กหลังได้รับรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย มีความความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และพฤติกรรมการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพิ่มมากขึ้น และเพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มที่ได้รับรูปแบบเดิม ทั้งในเรื่องความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และพฤติกรรมการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) จำนวนเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าไม่สมวัยลดลง และลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับรูปการส่งเสริมพัฒนาการแบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)

References

Walker SP, Wachs TD, Grantham-McGregor S, Black MM, Nelson CA, Huffman SL, et al. Inequality in early childhood: risk and protective factors for early child development. The Lancet 2011; 378(9799):1325-38.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัย. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.google.com/search?

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย. การทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยระดับประเทศ ย้อนหลัง 3 ปี. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://dopah.anamai.moph.go.th/web-upload/

สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลงานประจำปี 2558 โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558; 2558.

Isaranurug C, Nanthamongkol S and Kaewsiri D. Factors influencing development of children aged one to under six year old . J med assoc thai 2015; 88(1): 121-130.

รัตโนทัย พลับรู้การ และคณะ. “วิเคราะห์สุขภาวะเด็กและวัยรุ่นอายุ 2-5 ปี“ ใน วันดี นิงสานนท์ และคณะ, บรรณาธิการ. สุขภาวะของเด็กและวัยรุ่นไทย พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่. สุขภาวะเด็กปฐมวัย. กระบี่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่; 2566.

Dey, K. P., & Hariharan, S. Integrated approach to healthcare Quality management: A case study. The TQM Magazine 2006; 18(6): 583-605.

Yamanae, T. Statistics : An Introductory Analysis. London : John Weather Hill, Inc; 1967.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. Hillsdale NJ.: Lawrence Erl¬baum Associate; 1988.

กรแก้ว ทัพมาลัย. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2561; 12(29): 5-19.

ปฐม นวลคำ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารสุขภาพภาคประชาชน 2560; 12(1): 36-45.

วรรณริชฎา กิตติธงโสภณ. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่สงสัยมี พัฒนาการล่าช้า ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 31 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web /files/2564/research/MA2564-002-01-0000000264-0000000683.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31