ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ธวัช จันแดง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ,, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ ด้านสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคโรคความดันโลหิตสูง ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 337 คน ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แรงสนับสนุนทางสังคม 3) ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และ 4) ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาตัวแบบในการทำนาย โดยใช้ สถิติการถดถอยพหุคูณเชิงเส้น (Multiple Linear Regression Analysis) ด้วยวิธีการคัดเลือกตัวแบบขั้นตอน (Stepwise) ที่ ระดับนัยสำคัญ 0.05
     ผลการวิจัย พบว่า ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (equation= 4.08, S.D. = 0.40) ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับมาก (equation= 8.31 S.D. =2.01) และแรงสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับมาก (equation= 4.24,S.D. = 053) สามารถร่วมทำนายความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 49 (R = 0.70 R2 = 0.49 Adjust R2 = 0,485 )

References

WHO. Hypertension care in Thailand: Best practices ad challenges 2019.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค ncd พ.ศ. 2562 เบาหวานความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. นนทบุรี: อักษรและกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.2562

World Health Organization. Health promotion Glossar. Geneva: WHO Publications. 1998

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ. แผนสุขภาพแห่ งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: ระทรวงสาธารณสุข; 2560.

Nutbeam D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary

health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000;15(3):259–267

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นทางสู่ความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด 2561.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสื่อสารสุขภาพ. เอกสารเผยแพร่โดย อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2560.

เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ จังหวัดนครพนม รอบที่ 1 ปี 2567.

Krejcie, R. V. and Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement. 30 (3) : 608 - 610.

วันวิสา ยะเกี๋ยงงำ,ณิชารีย์ ใจคำวัง และพงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. ความรอบรู้และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลทุ่งกระเชาะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2563; 15(2): 97-116.

รุ่งนภา อาระหัง, สุธีรา ฮุ่นตระกูล และศศิธร รุจนเวช. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์นาวี 2561; 45(3): 509-526.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ประไพพิศ สิงหเสม, เยาวลักษณ์ ยิ้มเยือน และคณะ. ความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2559; 8(1): 1-12

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31