ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และศึกษาความสัมพันธ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครพนมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 365 คน ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวานและ 3) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองผู้ป่วยโรคเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยใช้สถิติ Pearson’s correlation ที่ ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับสูง (= 4.08 , S.D. =0.61 ) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (= 3.97 S.D. =0.60 ) เช่นกัน ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมทุกด้านกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีค่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูง (r = 0.765) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)
References
American Diabetes Association. Standards of Medical Care in Diobetes-2019.Retrieved January, 20 2024, from https://care.diabetes journals.org/content/diacare
International Diabetes Federation.(2019). Diabetes Atlas. Retrieved January, 10 2024, from https://www.diabetesatlas.org/
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานประจำปี 2562 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. สืบค้น 22 ธันวาคม 2566, จากhttp://www.thaincd.com/2016/mediadetail.php?id=13800&tid=&gid=1-015-005
ธนาลักษณ์ สุขประสาน.ความสัมพันธ์ระหว่าง การรู้เท่าทันข้อมูลสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2559.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง.ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. กรุงเทพฯ:อมรินทร์.2561.
เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ จังหวัดนครพนม รอบที่ 1 ปี 2567.
Krejcie, R. V. and Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,”Educational and Psychological Measurement. 30 (3) : 608 - 610.
จตุพร แต่งเมือง, และเบญจา มุกตพันธุ์. . ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.วารสารสุขศึกษา,41(1), 2561 103-113
วรรณรัตน์ รัตนวรางค์ และวิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. ว. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2561:24(2):34-50.
เอกชัย ชัยยาทา. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการรับประทานยาและการมาตรวจตามนัดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในจังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560
เนตรนภา กาบมณี สิริลักษณ์ อุ่ยเจริญ และฐิติวรรณ โยธาทัย ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2564 23- 33