ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมผู้สูงอายุ ตำบลบ้านแมด อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กัลยาลักษณ์ กองแก้ว นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กิตติ เหลาสุภาพ อาจารย์กลุ่มวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี Corresponding author

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล, พฤติกรรม, ภาวะสมองเสื่อม

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุตำบลบ้านแมด อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 205 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในระหว่างเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนพฤษภาคม 2567วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75 และใช้สถิติเชิงอนุมานในทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมผู้สูงอายุ โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple linear regression analysis) แบบ Stepwise กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
     ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม การสูบบุหรี่ และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและควบคุมภาวะสมองเสื่อม ตามลำดับ โดยผลการวิเคราะห์ความถดถอยพหุเชิงเส้น พบว่า สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน ตำบลบ้านแมด อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 67.7 (R2=0.677, R2adj=0.669, SEest=4.067, F= 83.568, p<0.001)

References

World Health Organization. Global action plan on the public health response to dementia 2017- 2025. Geneva: World Health Organization, 2017.

Case Management Society of America. Standards of practice for case management. Arkansas: CMSA National, 2016.

อาทิตยา สุวรรณ์. “บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม”, วารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 35(1): 6-15; มีนาคม, 2560.

วรารัตน์ ทิพย์รัตน์ และคณะ. “ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง”, วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 27(1): 100-108; มีนาคม, 2562.

วิมลรัตน์ บุญเสถียร และคณะ. “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนจังหวัดปทุมธานี”, วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 42(3): 97-110; กันยายน, 2565.

อาทิตยา สุวรรณ์ และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. “ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี”, วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 5(2) : 21-32; ธันวาคม, 2559.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแมด. สถานการณ์ผู้สูงอายุ. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแมด, 2566.

Kelley, K. & Maxwell, S. E. “Sample size for multiple regression: Obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant”, Psychological Methods. 8(3): 305-321; September, 2003.

ณัฐธยาน์ ประเสริฐอำไพสกุล และคณะ. “ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด”, รามาธิบดีพยาบาลสาร, 14(3): 298-311; ธันวาคม, 2551.

อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ และนูรมา สมการณ์. “การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส”, วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 5(1): 146-155; เมษายน, 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31