ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตผู้ป่วยเบาหวานมุ่งสู่โรคเบาหวานระยะสงบ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ชัญญ์นิฏฐ์ วงศ์อุดมกอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • สุภาพร สุวรรณวงษ์ นักโภชนากร
  • อิศริณ อินทรวิเชียร Ph.D.
  • ขวัญกัลยา ปุนนา นายแพทย์ชำนาญการ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การดำเนินชีวิต, โรคเบาหวานระยะสงบ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตผู้ป่วยเบาหวานมุ่งสู่โรคเบาหวานระยะสงบ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 122 ราย ระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน แบบบันทึกค่าน้ำตาลในเลือด การสนทนากลุ่ม การบันทึกภาพถ่าย และรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตผู้เป็นเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลโพนพิสัย ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.67-1 ค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent t - test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการดำเนินโครงการ ผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยของค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) เท่ากับ 8.52 ค่าน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS) เท่ากับ 146 mg% คะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานส่วนใหญ่คะแนนระดับปานกลาง จำนวน 65 ราย ร้อยละ 53.3 รองลงมา คะแนนระดับสูง จำนวน 35 ราย ร้อยละ 28.7และระดับคะแนนต่ำ จำนวน 22 ราย ร้อยละ 18 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตโดยใช้ “รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตผู้เป็นเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลโพนพิสัย” ประกอบด้วย การดูแลพื้นฐานทั่วไป การตั้งเป้าหมาย การสื่อสารสร้างแรงจูงใจ การปรับเปลี่ยนอาหาร การออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย และการติดตามผู้ป่วยรวมทั้งการปรับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ภายหลังโครงการพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยของค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) 8.14 ค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร(FBS) เท่ากับ 137 mg% ซึ่งลดลง คะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานส่วนใหญ่คะแนนระดับปานกลาง จำนวน 60 ราย ร้อยละ 49 รองลงมา คะแนนระดับสูง จำนวน 47 ราย ร้อยละ 39 และระดับคะแนนต่ำ จำนวน 15 ราย ร้อยละ 12 และไม่พบอุบัติการณ์แทรกซ้อนฉุกเฉินจนต้องนอนโรงพยาบาล

References

WHO. Diabetes [Internet]. 2023 [Cited 2024 March 20]. Available from: https://www.who.int/health-topics/diabetes?gad_source=1&gclid=Cj0KCQjwqpSwBhClARIsADlZ_TkHxqm5tPiqWRCy7SRJWHXpyV3XT8x6AXo95qt8UQTpsFF_XEWUOY4aAuuSEALw_wcB#tab=tab_1

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก 2566 มุ่งเน้นให้ความรู้ประชาชนถึงความเสี่ยงโรคเบาหวาน และหากตรวจพบก่อนจะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567]; เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=38403&deptcode=brc&news_views=2606.

สำนักงานสถิติจังหวัดหนองคาย. รายงานสถิติจังหวัดหนองคาย พ.ศ. 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567]; เข้าถึงจาก: https://nongkhai.nso.go.th/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. รายงานประจำปี 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567]; เข้าถึงจาก: https://wwwnko2.moph.go.th/plan/Evaluation/Year_Report/YR_2565.pdf.

Taro Yamane. Statistic: An Introductory Analysis (2nd ed). New York: Harper & Row; 1970.

Bloom, Benjamin S., et al. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company; 1971.

Denzin, N.K., & Lincoln, Y.S.. Collection and interpreting qualitative materials (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications; 2008.

Kemmis, S. and McTaggart, R.. The Action Research Reader. Third edition. Deakin University Press: Victoria; 1988.

Shapiro, S.S. and Wilk, M.B.. An Analysis of Variance Test for Normality (Complete Samples) Biometrika [Internet]. 1965; 52: 591-611 [Cited 2024 March 20]. Available from: https://doi.org/10.1093/biomet/52.3-4.591.

พูนพงษ์ สุขสว่าง. one-sample t-test [วิดีโอ]. 1 กุมภาพันธ์ 2567 [สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567]. เข้าถึงจาก: https://www.youtube.com/watch?v=-AhhF6UgmvQ.

วรรณวลี บุญค้ำชู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองผักบุ้ง ตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย[อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567]; เข้าถึงจาก: https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2566/r2r/MA2566-004-02-0000001174-0000001196.pdf.

นิคม แก้วน้ำอ่าง. ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2567]; เข้าถึงจาก:https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2566/research/MA2566-004-01-0000001045-0000001058.pdf.

พันธวี คำสาว, วลัยภรณ์ กุลวงค์และบุญยัง ขันทะหัด. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร 2566; 26(2): 14-27.

Daniel J. Cox, etc.. Impact of Behavioral Interventions in the Management of Adults with Type 2 Diabetes Mellitus. Clinical phytoscienece. [Internet]. 2013 [Cited 2024 March 11]. Available from: https://link.springer.com/article/10.1007/s11892-013-0423-7.

Girija Kumari, etc.. Effectiveness of Lifestyle Modification Counseling on Glycemic Control in Type 2 Diabetes Mellitus Patients. Current Research in Nutrition and Food Science. 2018; 6(1): 70-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31