การพยาบาลมารดาเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
เจ็บครรภ์, คลอดก่อนกำหนด,, การพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลมารดาเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดจำนวน 2 รายที่มารับบริการในโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน โดยศึกษาในมารดาเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จำนวน 2 ราย โดยศึกษาในผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 1 ที่เข้ามาคลอดในโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 – 2 มีนาคม 2566 และศึกษาในผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2 ที่เข้ามาคลอดในโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน ระหว่างวันที่ 20 กันยายน 2566 - 22 กันยายน 2566 การเก็บข้อมูลโดยใช้แนวคิดการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน และแนวคิดกระบวนการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้คลอดก่อนกำหนด
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 1 มารดาครรภ์แรกอายุครรภ์ 35+5 สัปดาห์ มีประวัติใช้สารเสพติด มาด้วยอาการเจ็บท้องมดลูกหดรัดตัว มีน้ำเดิน มีมูกเลือดทางช่องคลอด ปากมดลูกเปิด 10 cm คลอดปกติทารกไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2 มารดาครรภ์ที่ 4 เคยคลอด 1 ครั้ง แท้ง 2 ครั้งอายุครรภ์ 35+6 สัปดาห์ มีประวัติน้ำหนักเพิ่มน้อยขณะตั้งครรภ์ มาด้วยอาการเจ็บท้องมดลูกหดรัดตัว มีน้ำเดินไม่มีมูกเลือด ปากมดลูกเปิด 8 cm คลอดปกติทารกไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยทั้ง 2 รายไม่ได้ยายับยั้งการคลอดเนื่องจากเจ็บครรภ์คลอดปากมดลูกเปิดหมด
References
HDC. กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐานอนามัยแม่และเด็กร้อยละหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 2564-2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/
บุศรินทร์ เขียนแม้น, เยาวเรศ ก้านมะลิ, วรรณวิมล ทุมมี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(3):286-300.
ศิริวรรณ แสงอินทร์. การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2557;22(1):27-38.
โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน. เวชสถิติ. สถิติห้องคลอด ปี 2564-2566. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2566.
Gordon M. Functional Health Patterns [Internet]. Nursing Theory open access articles onarticles on nursing treories and models; 2020 [cited 2024 Mar 31]. Available from: https://www.kknursingcollege.com/post_rn/notes/semester
เพลินพร กาญจนะ. การพยาบาลมารดามีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://srth.go.th/research/file/20240430155503-60_2567
มยุรี ช่วยบำรุง. การพยาบาลมารดาเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด:เปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย.[อินเทอร์เน็ต].2566 [เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://skho.moph.go.th.
อัสมะ จารู, วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2562;39(1):79-92.