การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • รุ่งตะวัน แสนยะบุตร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ, การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ประวัติการเจ็บป่วย อาการและอาการแสดง แผนการรักษา การเกิดภาวะแทรกซ้อนและการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ กรณีศึกษา 2 ราย และเสนอแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ว่ามีภาวะบาดเจ็บที่ศีรษะ และเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
     ผลการศึกษา พบว่ากรณีรายที่ 1 หญิงไทย อายุ 15 ปี มีอาการสำคัญ มาด้วยขณะขับมอเตอร์ไซค์ถูกรถกระบะเชี่ยวชน สลบ จำเหตุการณ์ไม่ได้ ได้รับการวินิจฉัยโรคเป็น Acute Subdural hemorrhage and Epidural hemorrhage at Left Fronto-Parietal-temporal Lobe with Acute Respiratory failure เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด Left Craniectomy with Remove Clot หลังการรักษาผ่านพ้นภาวะวิกฤตและได้รับการดูแลเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างใกล้ชิดในหอผู้ป่วยวิกฤต อาการดีขึ้นตามลำดับ แพทย์จำหน่ายโดยส่งต่อกลับไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลชุมชนใกล้บ้าน รวมระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด 12 วัน กรณีศึกษารายที่ 2 เพศหญิง อายุ 62 ปี มีประวัติโรคประจำตัวคือ เบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง อาการสำคัญ มาด้วยขับมอเตอร์ไซค์ชนเสา หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ได้รับการวินิจฉัยโรคเป็น Acute Subdural hemorrhage at Right Fronto-Parietal-temporal Lobe เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด Craniectomy with Remove Clot หลังการรักษาผ่านพ้นภาวะวิกฤตและได้รับการดูแลเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างใกล้ชิดในหอผู้ป่วยวิกฤต มีอาการดีขึ้นตามลำดับ แพทย์ได้จำหน่าย กลับบ้านและนัดมาตรวจตามนัดอีก 1 สัปดาห์ รวมระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด 7 วัน

References

World Health Organization. (2018). Global status report on road safety 2018. ค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2567, จาก https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/277370/WHO-NMH-NVI-18.20-eng.pdf?ua=1

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC. (2566). สถิติข้อมูลผู้เสียชีวิตสะสมประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563-2566. https://www.thairsc.com/

ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ. บริษัทพรอสเพอรัสพลัส จำกัด.

รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ และชดช้อย วัฒนะ. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองแบบองค์รวม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 129-139

Hawryluk, G. W. J., Rubiano, A. M., Totten, A. M., O’Reilly, C., Ullman, J. S., Bratton, S. L.,

Chesnut, R. M., Kissoon, N., Shutter, L., Tasker, R. C., Vavilala, M. S., Wilberger, J., Wright, D. W., Lumba-Brown, A., & Ghajar, J. (2020). Guidelines for the management of severe traumatic brain injury: 2020 update of the decompressive craniectomy recommendations. Neurosurgery, 87(3), 427-434.

ฉัตรกมล ประจวบลาภ. (2561). ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่สมอง: มิติของการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารสภาการพยาบาล, 33(2),15-28

McCrea, M. A., Giacino, J. T., & Barber, J. (2021). Functional outcomes over the first year after moderate to severe traumatic brain injury in the prospective, longitudinal TRACK-TBI study. JAMA Neurology, 78(8), 982-992.

ปราณี นิพัทธกุศลกิจ, ภินวนันทน์ นิมิตรพันธ์ และประณีต ส่งวัฒนา. (2559). ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะหลังจำหน่าย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(1), 135-152.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31