การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การดูแลระยะยาว, ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 201 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 20 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 ถึง พฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยใช้สถิติ paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี คือ KPSCC Model ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ (Knowledge Enhancement) 2) ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี (Promotion of Healthy Behaviors) 3) สร้างความเข้มแข็งให้ระบบบริการสุขภาพ (Strengthening Healthcare Services) 4) สร้างความร่วมมือ (Collaboration) 5) ตรวจสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Monitoring and Improvement) และหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงสาธารณสุข,กรมควบคุมโรค,สำนักระบาดวิทยา.(2565). การควบคุมโรคไม่ติดต่อ. ค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, เข้าถึงได้จาก http://203.157.15.4/Annual/ANNUAL2550/ Part1/6650_Chronic.doc
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2563). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562.
เพ็ญศิริ สิริกุล;ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม ;เสริม ทัศศรี (2553)., การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, Volume 2, Issue 3, pp. 34-49.
ประทิน นาคชื่น ประจญ กิ่งมิ่งแฮ กฤตติกา แสนโภชน์ และธนกฤต ทุริสุทธิ์. (2562). รูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬามาครพรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2562).
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (2565). “การควบคุมความดันโลหิตได้ดี”, สถิติสุขภาพระดับพื้นที่. https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/area/index.php? ma=1&pf=01818101&tm=2&tp=4408&type=1
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2565). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี พ.ศ. 2565.
Kemmis, & McTaggart, R. (1988).The Action research planner, 3rd ed. Geelong: Deakin University, Australia.
วัชรี พันธ์เถร, วรพจน์ พรหมสัตยพรต และจตุพร เหลืองอุบล. (2566). การพัฒนาระบบบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แบบวิถีใหม่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มสุข อำเภอผาขาว จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2566.
สมจิตต์ สินธุชัย และคณะ. (2565). รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลลัพธ์ด้นสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความดันโลหิตสูงในคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดสระบุรี. วารสารสภาการพยาบาล ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2565.
มัณฑริกา แพงบุดดี และวิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. (2564). การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรังในชุมชนตำบลหนองแดง อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564.
นิตยา เพ็ญศิรินภา, ธีระวุธ ธรรมกุล และขวัญทิพย์ เฮงไป. (2563). การพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วม ในพื้นที่ตำบลคลองข่อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2563.
อรวรรณ มุงวงษา และคณะ. (2564). ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดี ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพันสาม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม) พ.ศ. 2564.
ภูรดา ยังวิลัย. (2563). การเปรียบเทียบผลของการชี้แนะและการสอนสุขศึกษาต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2563.
พิกุลทิพย์ ขุนศรษฐ, กีรถา ไกรนุวัตร และปียะธิถา นาคะเกษีย. (2559). ผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้และสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลศาสตร์ ปีที่ 34 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2559.