ระบบการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ ปี 2567

ผู้แต่ง

  • สุภัทรา สายันเกณะ นายแพทย์ชำนาญการ แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว กลุ่มงานการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้าย, การดูแลแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบบ Case Control Study มีวัตถุประสงค์งานวิจัย เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายแบบองค์รวมชนิดประคับประคองและศึกษาระบบการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่าง เดือน พฤษภาคม 2567 ถึง เดือน สิงหาคม 2567 รวม 4 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จำนวน 289 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
     ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังระบบการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ ปี 2567 ความเข้าใจของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง หลังผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ “คลินิกเมตตารักษ์ไต” โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด ก่อนและหลังผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ “คลินิกเมตตารักษ์ไต” ก่อนและหลังผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ “คลินิกเมตตารักษ์ไต” พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( p < .05 ) โดยที่หลังผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ “คลินิกเมตตารักษ์ไต” มีค่าคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายแบบองค์รวมชนิดประคับประคองมากกว่า ก่อนผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ “คลินิกเมตตารักษ์ไต” และความพึงพอใจของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด

References

ผู้จัดการออนไลน์.(2567). เปิดข้อมูล "วันไตโลก" พบคนไทยป่วย "โรคไต" มากกว่า 1 ล้านคน ต้องล้างไต 7 หมื่นคน แนะวิธีชะลอความเสื่อม ลดภาวะแทรกซ้อน. ออนไลน์ https://mgronline.com/qol/detail/9670000022792

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.(2560). คำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ :บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).(2556). คู่มือสำหรับประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care). กรุงเทพฯ: บริษัท สร้างสื่อ จำกัด

กัลปังหา โชสิวสกุล แสงทอง ธีระทองคำ.(2563). การดูแลแบบองค์รวมชนิดประคับประคองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะท้ายที่รักษาแบบไม่ล้างไต : กรณีศึกษา. วารสารสภาการพยาบาล 2563; 35(4) 5-17

รัตนาภรณ์ แซ่ลิ้ม สุพัตรา ยอดปัญญา วารินทร์ กลิ่นนาค เดชา ชุมภูอินทร์.(2567). ผลของการเสริมโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและญาติผู้ดูแลผู้ป่วย. วารสาร Mahidol R2R e-Journal ปีที่ 11ฉบับที่ 1. 52-65

Davison SN, Levin A, Moss AH, Jha V, Brown EA, Brennan F, Murtagh FE, Naicker S, Ger-main MJ, O’Donoghue DJ, Morton RL. Kidney dis-ease: improving global outcomes. Executive sum-mary of the KDIGO Controversies Conference on Supportive Care in Chronic Kidney Disease: devel-oping a roadmap to improving quality care. Kid-ney Int. 2015 Sep;88(3):447-59.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ, จุฑามาศ ติลภัทร.(2562). ผลของการพยาบาลแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก ปี 2562, January-April ปีที่: 20 ฉบับที่ 1 หน้า 226-235

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31