ความคุ้มทุนของการส่งตรวจการติดเชื้อซิฟิลิสระบบประสาทในผู้ป่วยที่มาห้องฉุกเฉินด้วยภาวะสงสัยโรคหลอดเลือดสมองตีบ/แตกฉับพลันในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองหาน โรงพยาบาลกู่แก้ว โรงพยาบาลทุ่งฝน และโรงพยาบาลไชยวาน

ผู้แต่ง

  • ดวงฤทัย โนวฤทธิ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลกู่แก้ว

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, ความคุ้มทุน, การส่งตรวจ, ซิฟิลิสระบบประสาท, ห้องฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุนของการส่งตรวจการติดเชื้อซิฟิลิสระบบประสาทในผู้ป่วยที่มาห้องฉุกเฉินด้วยภาวะสงสัยโรคหลอดเลือดสมองตีบ/แตกฉับพลันในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองหาน โรงพยาบาลกู่แก้ว โรงพยาบาลทุ่งฝน และโรงพยาบาลไชยวาน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เวชระเบียนผู้ป่วย ระหว่างปี 2564-2566 จำนวน 515 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Binary logistic regression
     ผลการวิจัย: พบว่าผู้ป่วยจำนวน 515 คนที่มาด้วยภาวะสงสัยโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจคัดกรองซิฟิลิสในเลือด VDRL พบจำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 3  หลังจากตรวจน้ำไขสันหลัง พบเป็นติดเชื้อซิฟิลิสระบบประสาท จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.5 ผู้ติดเชื้อซิฟิลิสระบบประสาท เป็นเพศชาย ร้อยละ 62.5 อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 100.0 มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 62.5 เคยป่วยโรคซิฟิลิส ร้อยละ 50.0 ความคุ้มทุนของการส่งตรวจการติดเชื้อซิฟิลิสระบบประสาท พบว่า กลุ่มผู้ติดเชื้อซิฟิลิสมีค่าใช้จ่ายในการรักษา 10,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 100.0 ซึ่งมากกว่ากลุ่มไม่ติดเชื้อซิฟิลิสมีค่าใช้จ่ายในการรักษาต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 73.8 กลุ่มผู้ติดเชื้อซิฟิลิส มีอาการสำคัญมากที่สุด คือ มุมปากตก ลิ้นแข็ง ปากเบี้ยว ร้อยละ 50.0 มีระยะเวลารักษาในห้องฉุกเฉิน ≤ 30 นาที ร้อยละ 87.5 จำนวนวันนอน มากกว่า 5 วัน ร้อยละ 75.0 ผลลัพธ์การรักษาดีขึ้น ร้อยละ 75.0 ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อซิฟิลิสระบบประสาทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 12 ปัจจัย จากทั้งหมด 25 ปัจจัย คิดเป็นร้อยละ 48.0 เรียง 3 ลำดับปัจจัยเสี่ยง Adjusted Odds Ratio ดังนี้ ประวัติเคยป่วยโรคซิฟิลิส (Adj.OR = 24.79, p = 0.028) การติดเชื้อเอชไอวี (Adj.OR = 10.65, p = 0.027) และ อาการสำคัญ (OR = 8.53, p <0.001) สำหรับค่าใช้จ่ายคัดกรองซิฟิลิสในเลือดใช้รวม 25750 บาทสามารถคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อซิฟิลิสระบบประสาท ได้ 8 ราย ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นไม่มีความสัมพันธ์กับการตรวจคัดกรองหาเชื้อซิฟิลิสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย. Journal of Neurology 2566;39(2):39–45.

World Health Organization. Report on global sexually transmitted infection surveillance. [Internet]. Geneva, Switzerland: WHO. [Internet]. 2018. [Cited 2024 February 17]. Available from: https://www.who.int3. Liu S, Luo L, Xi G, Wan L, Zhong L, Chen X, et al. Seroprevalence and risk factors on Syphilis among blood donors in Chengdu, China. BMC Infectious Diseases. 2019;19(1): 509-18.

สายทอง วงศ์คำ. อัตราการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และเชื้อซิฟิลิส ในเลือดบริจาคของโรงพยาบาลหัวหิน. เชียงรายเวชสาร 2560; 9(2): 105-13.

Ropper AH, Samuels MA, Klein JP, Prasad S. Adams and Victor’s Principles of Neurology. 11th ed. New York: McGraw-Hill, 2019.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ปีงบประมาณ 2566. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงจาก: https://apps-doe.moph.go.th/boeeng/annual.php

National Geographic. ซิฟิลิส: กามโรคที่ไม่เคยห่างหายไปจากมนุษย์ 2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงจาก: https://ngthai.com/science/21797/syphilis

ศูนย์การแพทย์บางรักด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. แนวทางการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2565.

สามารถ พันธ์เพชร, จิราวรรณ สว่างสุข, นิรมล ปัญสุวรรณ, รสพร กิตติเยาวมาลย์. การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 ภายใต้ระบบเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ 5 มิติ. วารสารโรคเอดส์ 2565; 34(3):144-59.

พิชญา จารุวิจิตรรัตนา, สุเบญจา พิณสาย. การศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ที่เป็นโรคซิฟิลิสในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี. อภัยภูเบศรเวชสาร 2565; 37-47.

Kojima N, Park H, Konda KA, Davey DLJ, Bristow CC, Brown B, et al. The PICASSO Cohort: baseline characteristics of of men who have sex with men. BMC Infect Dis 2017;17(1):1-8.

ศักดิ์ชัย ไชยมหาพฤกษ์, รสพร กิตติเยาวมาลย์. ซิฟิลิส : การกลับมาอีกครั้ง. วารสารควบคุมโรค 2564; 47(2): 199-208.

อภิษฎา รัศมี, จุไรรัตน์ รัตนเลิศนาวี. การติดเชื้อเอชไอวีในแรงงานข้ามชาติที่ติดเชื้อซิฟิลิส และมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์: การศึกษาในจังหวัดพังงา. วารสารโรคเอดส์ 2562; 31(1):9-20.

พรนารา ธิเขียว, สุทิพา วงศาโรจน์, วัชรี ประสิงห์, รัชณี เขื่อนแก้ว, พจมาลย์ คชินทร์ไพร. การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยซิฟิลิสเพื่อดูแลรักษา ในศูนย์สาธิตบริการกามโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่. วารสารโรคเอดส์ 2561; 30(1): 35-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31