การพัฒนาแนวทางบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชน บ้านบุขี้ตุ่น ตำบลพลกรัง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นวลฉวี อารยะศิลปธร พยายาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลพลกรัง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, แนวทางบริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทปัญหา พัฒนาและใช้แนวทางการบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ในชุมชน บ้านบุขี้ตุ่น ตำบลพลกรัง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เก็บข้อมูลระหว่างเดือน เมษายน–กันยายน 2566 ทำการเลือกประชากรทั้งหมดในชุมชน จำนวน 51 ตัวอย่าง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test
     ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีระดับความดันโลหิตดีขึ้น อยู่ในช่วง <140/90 มิลลิเมตรปรอท ร้อยละ 86.36 ดัชนีมวลกายของผู้ป่วย ส่วนมากอยู่ในช่วงปกติเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 40.91 ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ่น ภายหลังการพัฒนาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p <.05, t = 4.28

References

กองยุทธศาสตร์และแผน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2565. กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี, 2565.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคเรื้อรังประจำปี 2565. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. คู่มือประเมินการดำเนินงานคลินิก NCD คุณภาพปีงบประมาณ 2558.

รายงานของสำนักงานควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 2565. สำนักงานควบคุมป้องกันโรคจังหวัดนครราชสีมา. สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 5 นครราชสีมา 2565.

งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ. ทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. นครราชสีมา : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพลกรัง. 2565.

อนุวัฒน์ศุภชุติกุล. คู่มือเส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร :สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2559.

เสงี่ยม จิ๋วประดิษฐ์กุล. พฤติกรรมการดูแลตนเองและความสามารถในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโพธาวาส.วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2563;3(1): 15-30.

ฉัตรณรงค์ คงบารมี (2559). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้มีภาวะเสี่ยง ต่อโรคความดันโลหิตสูง บ้านหนองเม็ก ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา.2566;8(4): 624-629.

รุ่งพิทยา คณะช่าง และคณะ (2563). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. เอกสารประชุมวิชาการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2. 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31