ปัจจัยทำนายพฤติกรรมทำร้ายตนเองในวัยรุ่น จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • เพ็ญสุดา ไชยเมือง สาขาการจัดการระบบสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ทัศพร ชูศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • รัฐพล ศิลปรัศมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

วัยรุ่น, พฤติกรรมทำร้ายตนเอง, การแก้ไขปัญหา,, การเผชิญปัญหา

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมทำร้ายตนเองในวัยรุ่น จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นไทยอายุ12-18 ปีที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย จำนวน 176 คน โดยคัดเลือกแบบสุ่มหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลเมื่อ เดือนมกราคม - พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้วิจัยมีจำนวน 5 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคม ประเมินปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล การเผชิญปัญหา วิธีและปัจจัยพยายามทำร้ายตนเอง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.81 - 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
     ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 97.70 มีอายุเฉลี่ย 15.3 ปี มีการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 30.70 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 73.30   มีประวัติใช้สารเสพติดเป็นประจำ ร้อยละ 33.00 กิจกรรมยามว่างส่วนใหญ่คือ เล่นโทรศัพท์ ร้อยละ 27.90 ผลการวิเคราะห์ พบว่า มีตัวแปรทำนาย 3 ตัว คือ ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านจิตใจ ปัจจัยด้านการเผชิญหา โดยตัวแปรอิสระ 3 ตัว สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการทำร้ายตนเองของวัยรุ่นจังหวัดเลย ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีอำนาจทำนายพฤติกรรมการทำร้ายตนเองของวัยรุ่นจังหวัดเลย ประมาณร้อยละ 41.00 (Adjust R Square = 0.41)

References

อรพิน ยอดกลาง, มธุรส ทิพยมงคลกุล. (2563). การป้องกันและลดปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศไทย. [มหาวิทยาลัยมหิดล].

Pascoe, M. C., Hetrick, S. E., & Parker, A. G. (2020). The impact of stress on students in secondary school and higher education. International Journal of Adolescence and Youth, 25(1), 104-112.

กระทรวงสาธารณสุข. (2562).รายงานระบบบริการสาธารณสุข จังหวัดประจำปี 2562. เข้าถึงเมื่อ16 ก.พ. 2566 เข้าถึงได้จาก http://dmsic.moph.go.th/index/detail/9127

กรมสุขภาพจิต. (2565). รายงานอัตราฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคน (GIS Report). เข้าถึงเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://dmh.go.th/report/map/reds.asp?noyear=2563

กรมสุขภาพจิต. (2563). รายงานอัตราฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคน แยกตามจังหวัดประจำปี 2563. เข้าถึงเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://dmh.go.th/report/suicide/stat_province.asp

Izadi-Mazidi, M., Yaghubi, H., Mohammadkhani, P., & Hassanabadi, H. (2019). Assessing the functions of non-suicidal self-injury: factor analysis of functional assessment of self-mutilation among adolescents. Iranian Journal of Psychiatry, 14(3), 184-191.

พงษ์ศักดิ์ สกุลทักษิณ, ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์. (2564). ศึกษาความคิดและความพยายามฆ่าตัวตายและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความคิดและความพยายามฆ่าตัวตายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 9(3), 108-119.

อัจฉรา ตราชู, ฐิตวี แก้วพรสวรรค์, สิรินัดดา ปัญญาภาส. (2556). พฤติกรรมทำร้ายตนเองในเด็กและวัยรุ่นที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(4), 323-332.

ณัฏฐญา พัฒนะวาณิชนันท์, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์, รุจิดา ศิริวัฒนา. (2551). ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องในการทำร้ายตนเอง. วารสารสภาการพยาบาล, 23(3), 61-71.

อัสรี อนุตธโต. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการข่มเหงรังแกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

อรุโณทัย สิงห์ตาแก้ว, นุจรี ไชยมงคล, ไพรัตน์ วงษ์นาม. (2565). ความชุกของการจงใจทำร้ายตนเองในวัยรุ่นไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง: การประยุกต์ใช้สำหรับผู้เฝ้าระวัง. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 17(4), 326-334.

ภานุพันธ์ ไพทูรย์. (2567). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณค่าในตนเองเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในพื้นที่จังหวัดพะเยา. วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 14(1), 84-97.

กฤติกา สุภรัมย์, สุพจน์ คำสะอาด. (2566). อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายสำเร็จของวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-19 ปี เขตสุขภาพที่ 10. ศรีนครินทร์เวชสาร, 38(5), 470-479.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31