รูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโดน
คำสำคัญ:
รูปแบบการเสริมสร้าง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การศึกษา รูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโดน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและปัญหาของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโดน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน พฤษภาคม 2567 ถึง เดือนกรกฎาคม 2567 รวม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 10 ตำบลกุดโดน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโดน จำนวน 60 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโดน อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโดน อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ก่อนการดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโดน อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนการดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับพอใช้ หลังการดำเนินงาน อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโดน อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ภายหลังการดำเนินงานความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโดน อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าสูงกว่าก่อนการดำเนินการ
References
ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน.(2021). การศึกษาใหม่รายงานว่า ภาวะความดันโลหิตสูง พบได้มากขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง.
World Health Organization (2023). Global report on hypertension: the race against a silent killer. Geneva: World Health Organization
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย.(2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์
กรมควบคุมโรค.(2563). โรคความดันโลหิตสูง (Hypertention). ออนไลน์ https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=52
รุ่งนภา อาระหัง.(2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสาหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
วชิระ เพ็งจันทร์.(2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. ใน เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมอนามัย เรื่อง ความรอบรู้สุขภาพมุ่งสู่ประเทศไทย, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สมจิตต์ สินธุชัย, นุสรา นามเดช, ประไพ กิตติบุญถวัลย์, สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ,กันยารัตน์ อุบลวรรณ, ปัฐยาวัชร ปราฎผล.(2565).รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความดันโลหิตสูงในคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดสระบุรี วารสารสภาการพยาบาล 2565; 37(1) 58-74
อิสรา จุมมาลี ณัฐสิทธิ์ สินโท วิโรจน์ คำแก้ว ธารินี ศรีศักดิ์นอก.(2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 15(2). 99-113
วันวิสา ยะเกี๋ยงงา , ณิชารีย์ ใจคาวัง และ พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. ความรอบรู้และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตาบลทุ่งกระเชาะ อำเภอบ้านตากจังหวัดตาก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2563; 15(2): 97-116.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือการดำเนินงานสุขศึกษา “หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ”. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.