การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผ่านหลักสูตร CG เชี่ยวชาญ
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้ดูแลผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต และดัชนีความสุขของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ โดยผ่านการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ การอบรมหลักสูตร CG เชี่ยวชาญ ระยะเวลา 1 สัปดาห์ เครื่องมือวิจัยเป็นการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุประกอบด้วยแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 และแบบวัดดัชนีชี้วัดความสุข ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 ดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงเดือนสิงหาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ประกอบด้วยผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 99 คน และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 338 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาาและเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการดูแลโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรม มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 56.4 รองลงมาคือคุณภาพชีวิตระดับสูง ร้อยละ 37.0 และคุณภาพชีวิตระดับต่ำ ร้อยละ 6.6 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 (S.D. = 0.392) มีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.000 (t=10.193, p<0.001) มีดัชนีความสุขอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 44.69 รองลงมามีดัชนีความสุขเสี่ยง ร้อยละ 40.66 และมีดัชนีความสุขดีร้อยละ 14.65 ภาพรวมคะแนนดัชนีชี้วัดความสุข มีคะแนนเฉลี่ย 29.96 คะแนน (S.D.=6.265) และมีคะแนนดัชนีชี้วัดความสุขเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.000 (t =20.397, p<0.001)
References
United Nations. World Social Report 2023: Leaving No One Behind in an Ageing World. ST/ESA/379. Available at: www.un.org/development/desa/pd/content/launch-world social-report-2023. 2023.
Department of older persons. Situation of the Thai older persons 2022 / Department of older persons: Bangkok : Department of older persons, 2023; 2023.
เกศกนก จงรัตน์. ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(6):1013-1019. 2562.
สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.). รายงานการประชุมโครงการประชุมวิชาการบริการปฐมภูมิเรื่องการพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน. 2552.
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.; 2553.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. คู่มือการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2552.
ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุยุคดิจิตอล.[ออนไลน์].สืบค้นจากhttps://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/10138 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564]. 2559.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอราษีไศล. รายงานผลการดำเนินงานสาธารณสุขอำเภอราษีไศล ประจำปี 2566. 2566.
วชิระ เพ็งจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. ในเอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมอนามัย เรื่อง ความรอบรู้สุขภาพมุ่งสู่ประเทศไทย, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560. 2560.
Yamane T. Statistics: An introductory analysis. (3nded.). New York: Harper and Row Publication 1973.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล แ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด, โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. 2540.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต.(พิมพ์ครั้งที่1).กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข:บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด.2561.
น้าผึ้ง ทองศรี. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2550.
กานต์วรี กอบสุข. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านโคกบรรเลง ตำบลบุฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2554.
วิโชติ ผ้าผิวดี. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยภาคีผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหนองเสือ ตำบลศรีสุข อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2556.
พิณีวรรณ์ บูรณ์เจริญ. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านลุมพุก ตำบลนาดี อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2554.
ทรงยศ แจ้งเจริญ. โปรแกรมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้วัดส่งเสริมสุขภาพเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2555.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, เล็ก สมบัติ, ปรียานุช โชคธนวณิชย์, ธนิกานต์ ศักดาพร. ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนชนบทไทย.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). 2552.