รูปแบบการพัฒนาการรับรู้โรคไข้เลือดออกแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุเทพ ภูนาเหนือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, การรับรู้โรค, ไข้เลือดออก, แกนนำชุมชน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้โรคไข้เลือดออกแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์และศึกษารูปแบบการพัฒนาการรับรู้โรคไข้เลือดออกแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการศึกษา ระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม 2567 รวม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 54 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
     ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้โรคไข้เลือดออกแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และการรับรู้โรคไข้เลือดออกแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ภายหลังการดำเนินงานการรับรู้โรคไข้เลือดออกแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าสูงกว่าก่อนการดำเนินการ

References

กรมควบคุมโรค.(2565). ไข้เด็งกี่ (Dengue). ออนไลน์ https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2566). รายงานประเมินความเสี่ยงการระบาดโรคติดต่อนำโดยแมลง ปี พ.ศ. 2566. ออนไลน์ http://core-website.com/public/dispatch_upload/backend/core_dispatch_324766_4.pdf

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2566). แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (ฉบับย่อ) 2566. นนทบุรี : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

ไกรศิลป์ ศิริวิบูรณ์ ศิริรัตน์ กัญจา.(2564). การศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 29(1). 129-38

ยุทธชัย นาดอน สุมัทนา กลางคาร ศิรินาถ ตงศิริ.(2563). การพัฒนามาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 6(1). 60-71

บุญประจักษ์ จันทร์วิน.(2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอที่มีอัตราป่วยสูง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 8(4). 141-56

อำนาจ รินทราช.(2561). ความรู้และการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพบ้านโนนสูง ตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 3(1). 18-24

ปรรณพัชร์ วงศ์ธีราพงษ์.(2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่สวนมะม่วง ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2558) โรคไข้เลือดออก สำหรับประชาชนและ เครือข่ายภาคประชาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

ทองบน เนาว์แก้ว.(2565). การพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว (กสค.) โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการบริหารจัดการ POCCC. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 7(2). 150-69

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31