การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันเนื่องจากภาวะช็อกจากติดเชื้อในกระแสเลือด ร่วมกับมีภาวะหัวใจล้มเหลวและได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
ไตวายเฉียบพลัน, ภาวะช็อกจากติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะหัวใจล้มเหลว, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหา และการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันเนื่องจากภาวะช็อกจากติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับมีภาวะหัวใจล้มเหลวและได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยศึกษาในผู้ป่วยหญิง อายุ 66 ปี มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ได้รับการผ่าตัดขยายเส้นเลือดมา 1 ปี มาด้วยอาการสำคัญ ไอ หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ ก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชั่วโมง จากการศึกษาพบว่า ปัญหาสำคัญในระหว่างการดูแล มีดังนี้ 1) ระยะก่อนฟอกเลือด ได้แก่ มีของเสียคั่งในร่างกาย มีภาวะน้ำคั่งในปอด วิตกกังวลเกี่ยวกับการใส่สายสวนฟอกเลือดและการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2) ระยะฟอกเลือด ได้แก่ มีภาวะความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือด และเสี่ยงต่อเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จากการฟอกเลือดด้วยไตเทียม 3) ระยะหลังฟอกเลือด ได้แก่ เสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่ายในทุกระบบของร่างกาย เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตันในชั้นลึก และขาดความรู้ในการดูแลตนเอง หลังจากได้รับการรักษาพยาบาลเพื่อแก้ไขและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว ผู้ป่วยมีของเสียคั่งในร่างกายลดลง ไม่มีภาวะน้ำคั่งในปอด ไม่เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ในขณะและหลังฟอกเลือด มีความรู้ในการดูแลตนเอง แพทย์จึงจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน และสามารถยุติการฟอกเลือดภายหลังจำหน่ายได้
References
สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการตรวจราชการ ประจำปี 2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2567] เข้าถึงจาก http://dmsic.moph.go.th/ index/detail/2779
กันยารัตน์ ม้าวิไล. (2020). เปรียบเทียบอัตราการเสียชีวติของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดก่อน และหลังการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเพื่อค้นหาและจัดการกับภาวะวิกฤต กลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 2563: 3(1): 43 - 60.
ซ่อนกลิ่น ชูจันทร. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร2563; 29(1): 13 - 22.
สุพัตรา พรมงาม. (2566.) การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2567] เข้าถึงจาก http://www.sko.moph.go.th/research/content/view/?id=30
คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมา สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คู่มือการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสำหรับผู้ป่วยโรคไต พ.ศ. 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก: https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2021/
บัวหลัน หินแก้ว. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลัน: กรณีศึกษา. วารสารสภากาชาด 2559; 9(1): 46 - 62.
ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานผู้ป่วยรายโรคปี พ.ศ 2564, 2565, 2566 [อินทราเน็ต]. 2567 [สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก:http://somdetdata.moph.go.th/data_sys/report_/
ภาวิไล พิทักษ์วงศ์ และสุลาวัลย์ หนูพุ่ม. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันในระยะวิกฤติ. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/article/
แสงสม เพิ่มพูน. การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก (Septic shock) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 สืบค้นเมื่อ 11เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก: https://publication.npru.ac.th/bitstream/