ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • ราตรี หะนุรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสุไหงปาดี

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, โปรแกรมส่งเสริมความรู้และทักษะในบุคลากร

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi -experimental research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยวัดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมในคะแนนรู้ ทักษะ และความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมโปรแกรมส่งเสริมความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ทำการศึกษาในช่วงเดือน ตุลาคม – ธันวาคม 2565 รวมระยะเวลา 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยนอก พยาบาลวิชาชีพห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช พยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยในจำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ แบบประเมินความพึงพอใจการเข้าร่วมโปรแกรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ก่อน-หลัง ด้วยสถิติเชิงอนุมาน paired t-test 
     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส จำนวน 41 คน ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.80 ช่วงอายุส่วนมากอายุ 31-40 ปี จำนวน ร้อยละ 53.66 สถานภาพสมรสส่วนมากแต่งงานและอาศัยอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 75.61 สถานที่ปฏิบัติงาน ส่วนมากเป็นพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยใน (IPD) ร้อยละ 43.90 ประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดส่วนมากมีประสบการณ์ 6 ปีขึ้นไป ร้อยละ 90.24 ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมเป็นระยะเวลา 3 เดือนในการส่งเสริมความรู้ ทักษะ พบว่า ความรู้ทักษะ และ ความพึงพอใจ เพิ่มขึ้นทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 (t = 8.90, 7.27, 7.49 ตามลำดับ)

References

World Health Organization. Cardiovascular diseases (CVDs). cardiovascular-diseases-(cvds). 2020.

The Heart Association of Thailand. The Acute Coronary Syndromes Guidelines 2020. Bangkok: The Heart Association of Thailand; 2020.

กฤษฎา เขียวรี. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง : กรณีศึกษา. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2560; 26(2): 81-94.

มรรยาท ขาวโต และ สุรเชฎฐ์ กุคำใส. พัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น ในระยะวิกฤต งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน.วารสารวิลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี. 2564; 4(2): 93-110.

กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลสุไหงปาดี. รายงานผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากฐานข้อมูลสุขภาพ HDC. โรงพยาบาลสุไหงปาดี 2567.

เบญจมาศ แสนแสง และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่มารักษา ของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสยก. วารสารโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563; 1(3): 172-190.

จิราพร มณีพราย. การพัฒนาเครือข่ายการรักษาพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเอสทียกสูง (STEMI) จังหวัดกําแพงเพชร.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558; 24(5): 907-920.

สุวนิตย์ โพธิ์จันทร์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ในโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2558; 29(1): 22-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31