ผลของการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • พิศิษฐ์ เสรีธรรมะพิทักษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
  • นันทยา นนเลาพล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
  • มนันยา มณีปกรณ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
  • ปริชาติ แพนพา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
  • พรสวรรค์ นาวงศ์หา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
  • ขวัญยืน กมลเรือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ที่เข้ารับบริการในระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดนครพนม จำนวน 313 คน ที่ยินดีเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Activity Daily Living : ADL) แบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ศึกษาในระหว่างเดือน มกราคม ถึง มิถุนายน 2566 ใช้ระยะเวลารวม 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Activity Daily Living : ADL), คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยใช้สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์หาค่า t (t-test) ชนิด dependent Sample t-test
     ผลการศึกษา : พบว่า 1) ด้านความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Activity Daily Living : ADL) ของกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัคร ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พบว่าหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ด้านคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัคร ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พบว่าหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ด้านความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัคร ทีมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่าหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). ผลการสำรวจประชากรสูงอายุพ.ศ. 2557.กรุงเทพฯ: สำนักงาน สถิติแห่งชาติ.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2014). Situation of the Thai elderly 2014. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. [in Thai]

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2018). Situation of the Thai elderly 2018. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. [in Thai]

World Health Organization. (2000). Home-based long-term care: Report of a WHO study group. Geneva: WHO.

World Health Organization. (2003). Collection on long-term care: Key policy issues in long term care. Geneva: WHO.

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และคณะ. (2560). แนวโน้มผู้สูงอายุที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรพื้นฐานได้ด้วยตนเอง. ในปราโมท ประสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559, นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวง สาธารณสุขปี งบประมาณ พ.ศ. 2559. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมอนามัย. (2553). คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

เกรียงไกร ซื่อเลื่อม. (2552). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการดูแลและให้ความช่วยเหลือแก่ ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภาสกร สวนเรือง, อาณัติ วรรณศรี และสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ (2561) การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือในชุมชนภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สัมฤทธิ์ ศรีธ ารงสวัสดิ์ และคณะ. (2561). โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ . กรุงเทพฯ: บริษัท ดีเซมเบอร์รี่ จำกัด.

รุ่งลาวัลย์ รัตนพันธ์. (2564). การพัฒนาระบบการจัดการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม; ปีที่ 15(37).

ศศินันท์ สายแววและวรพจน์ พรหมสัตยพรต (2564) การพัฒนาระบบการจัดการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน; ปีที่ 7(4).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31