ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพ และระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลโพนสวรรค์

ผู้แต่ง

  • นันทยา นนเลาพล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมการป้องกันโรค, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลโพนสวรรค์ ศึกษาในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่มารับการคัดกรองในปี 2566 ทำการศึกษาในระหว่างเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม 2567 จำนวน 35 คน เปรียบเทียบก่อนและหลัง ชนิดแบบ 1 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและผลลัพธ์ทางคลินิกโดยสถิติเชิงพรรณนาหาความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างเพื่อเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Paired t-test
     ผลการศึกษา : พบว่า 1) การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ระดับความดันโลหิตหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

World Health Organization. Noncommunicable diseases country profiles. Geneva, 2013.http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/128038/1/9789241507509_eng.pdf?ua=1 - accessed 12 May 2022

World Health Organization. (2014). A global brief on hypertension. Geneva: World Health Organization : WHO.

Kulpimon Charoendee et al. (2022). Annual Report 2022, Noncommunicable Disease Division. (1st edition). Report2565NCDs.pdf (thaincd.com) http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=14502&gid=1-015-005.

Thai Public Health Survey Office. (2020). Report on the 6th survey of the health status of Thai people by physical examination. Bangkok: Ministry of Public Health; 2020.

Thai Hypertension Society. (2019). Thai guidelines on the treatment ofw hypertension2019.http://www.thaiheart.org/images/column_1563846428/Thai%20HT%20Guideline%202019.pdf (In Thai)

Medical Technology Research and Evaluation Institute. (2014). Literature review. current situation and service models for chronic non-communicable diseases. Nonthaburi: Art Qualified

สมาคมความดันโลหิตสูงแหงประเทศไทย. (2558). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ: สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย.

World Health Organization.(2021). Hypertension. Retrieved January 5, 2023 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension

Strecher, V. J. and Rosenstock, I. M. (1997). The Health Belief Model. In Health behavior and health education: Theory, research, and practice. (2nd ed.). San Francisco: Jossey-Bass.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. (2007). G*power 3: a flexible sta-tistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007; 39(2):175-191.

Cohen J. (2013). Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Lawrence Erlbaum Associates.

วรารัตน์ เหล่าสูง, วรรณรันต์ ลาวัง และพรนภา หอมสินธุ์. (2562). ผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 12(4), 32-45.

กรรณิการ์ เงินดี. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31