การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเกิดโรคไตเรื้อรังกับพฤติกรรมการป้องกัน การเกิดโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
โรคไตเรื้อรัง, โรคไตจากเบาหวาน, การรับรู้การเกิดโรคไตเรื้อรัง, พฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการรับรู้การเกิดโรคไตเรื้อรังและพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเกิดโรคไตเรื้อรังกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 406 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้การเกิดโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation co-efficient)
ผลการศึกษา : พบว่า 1) การรับรู้การเกิดโรคไตเรื้อรังของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนการรับรู้การเกิดโรคไตเรื้อรังโดยรวม อยู่ในระดับสูง =133.16, S.D=12.73 2) พฤติกรรมในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรัง พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง =76.60, S.D=8.29 3) การรับรู้การเกิดโรคไตเรื้อรังกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังพบว่า การรับรู้การเกิดโรคไตเรื้อรังโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังโดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.444, p=0.000) นอกจากนั้นยังพบว่า การรับรู้การเกิดโรคไตเรื้อรังโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมในการควบคุมภาวะโรคเบาหวานเพื่อป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.437, p=0.000) และการรับรู้การเกิดโรคไตเรื้อรังโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมทั่วๆ ไปในการควบคุมปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรคไตเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.303, p=0.000)
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงานสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566, จากhttps://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic62.pdf.
จุฑามาศ เกษศิลป์, พาณี วิรัชชกุล และอรุณี หล่อนิล. (2556). การจัดการดูแลตนเอง ความรู้ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ ก่อน–หลัง เข้าโปรแกรมการจัดการการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขต อ.เมือง จ.อุทัยธานี. วารสารกองการพยาบาล, 40(1), 85-102.
วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข. (2550). โรคไตจากเบาหวาน (Diabetic Nephropathy). ใน สมชาย เอี่ยมกลาง, เกรียง ตั้งสง่า, และเกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์ (บรรณาธิการ). โรคไต กลไก พยาธิสรีวิทยา การรักษา. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นิล พับลิเคชั่น.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์
นุสรา วิโรจนกุฎ. (2560). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้ การจัดการตนเองและการมีส่วนร่วม ของผู้ดูแลต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดและการชะลอความเสื่อมของไต ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 31(1), 41-48.
Becker, H. M. (1990). Theoretical Models of Adherence and Strategies for Improving Adherence. In S. A. Shumaker, E. B. Schron & J.K. Ockene (Eds.), The Handbook of Health Behavior Change. (p 5-37). NewYork: Springer.
Becker, M.H. (1974). The health belief model and sick role behavior. In The Health Belief Model and Personal Health Behavior. Thorofare, New Jersey: CharlesB. Slack.
Nemcek, M. A. (1990). Health beliefs and preventive behavior: A review of research literature. AAOHN Journal, 38(3), 127-138.
พิศิษฐ์ เสรีธรรมะพิทักษ์, แสงอุษา ทัศคร และมารดี วิทยาดำรงชัย. (2559). การศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังในประชาชน จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 3(2), 23-32.
อัมพร ซอฐานานุศักดิ์. (2551). บทบาทของพยาบาลกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. Journal Nursing Science, 26(2-3), 33-42.
ทวี ศิริวงศ์ และอุดม ไกรฤทธิชัย. (2550). กลเม็ดเคล็ดลับ ทำอย่างไรไตไม่วาย. กรุงเทพฯ: ส. พิจิตรการพิมพ์.
บุปผา ศิริรัศมี, จรรยา เศรษฐบุตร, & เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์. (2544). จริยธรรมสำหรับการศึกษาในคน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
นูร์มา แวบือซา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 19(2), 72-85.
จตุรงค์ ประดิษฐ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริพร ปาระมะ. (2544). ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อโณทัย เหล่าเที่ยง. (2560). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธิ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.