การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ธีรพัฒน์ สุทธิประภา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • อรรถวิทย์ เนินชัด นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลนามน
  • เกรียงไกร ประจัญศรี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสมเด็จ

คำสำคัญ:

การดูแลผู้สูงอายุ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการศึกษาในช่วงเดือน ตุลาคม 2566 – เดือน กันยายน 2567 รวม 12 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำชุมชน อสม. และตัวแทนผู้สูงอายุ 3,550 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กระบวนการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในชุมชน แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) แบบการประเมินความเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์แบบสามเส้า เชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน
     ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาของผู้สูงอายุส่วนมากมีปัญหาเรื่องเดินลำบาก ร้อยละ 44.56 ระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) ส่วนมากไม่เป็นการพึ่งพิง ร้อยละ 69.58 การประเมินระดับความเศร้าในผู้สูงอายุ (TGDS) ส่วนมากไม่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 80.45 การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในชุมชนนามน มีดังนี้ 1) ส่งเสริมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุตามแต่ละชุมชนต้องการตามถูมิปัญญา เช่น ลำไม้พอง บาสโลบ แอโรบิก รำมวยไทยตามฉบับนายเขตสียาภัย เป็นต้น 2) ส่งเสริมความรู้ในผู้สูงอายุและผู้ดูแล ผ่านโรงเรียนผู้สูงอายุในแต่ละตำบลส่งเสริมความรู้ตามภูมิปัญญา เช่น การใช้น้ำมันสมุนไพร 11 สหาย การแต่งกลอนลำให้ความรู้ เช่นหมอลำ Stroke 3) ส่งเสริมอาชีพและรายได้ผู้สูงอายุตามภูมิปัญญาของตำบลและชุมชน เช่น สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก การตากใบยาสูบ การบรรจุซองใบยาสูบ การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงตั๊กแตน 4) สนับสนุนการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้าน สนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ไม้เท้า รถเข็น แว่นตา อาหาร ข้าวสาร นม ไข่ โดยบูรณาการร่วมกับโครงการคนนามนไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังร่วมกับนายอำเภอนามน และ โครงการผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนโดยผู้ผ่านการอบรมและงบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5) สนับสนุนการดูแลสุขภาพจิตใจ เช่น การประเมิน 2Q, 9Q TGDS สนับสนุนการบริจาคชุดขาวเพื่อให้ผู้สูงอายุไว้ปฏิบัติธรรม

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. นนทบุรี. 2566.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2566. จาก http://www.nso.go.th.

จันทร์พ็ญ ชูประภาวรรณ. สถานะสุขภาพคนไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขสืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2566 จาก https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report27.pdf

ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562.

ระบบ Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุรายปี จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2566. สืบค้น 8 สิงหาคม 2566.จาก https://hdcservice.moph.go.th

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560, แหล่งที่มา https://goo.gl/2N4SLn

สุวมน โพนสาลี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาล ตำบลกุดสิม อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน.2562; 9(2): 621-630.

ปฏิภาณี ขันธโภค และคณะ. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับการรักษาหรือส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในตำบลรางจรเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยการพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้.2565; 9(2): 220-234.

จินต์ประวีร์ เจริญฉิม. รูปแบบกระบวนการถ่ายทอดศักยภาพภูมิปัญญาของผู้สูงอายุสู่ชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2565.

อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร และคณะ. การส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารราชพฤกษ์.2563; 18(2): 128-136.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31