แนวทางพัฒนาการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ

ผู้แต่ง

  • ขวัญชาติ สายน้อย นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง Corresponding author
  • เสรีย์ ตู้ประกาย รองศาสตราจารย์ ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปิยะรัตน์ ปรีย์มาโนช รองศาสตราจารย์ ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชัยวัฒน์ ภู่วรกุลชัย อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ, ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ, ความปลอดภัยก๊าซชีวภาพ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางพัฒนาการจัดการปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎ์ธานี และกระบี่  จำนวนทั้งสิ้น 33 คน จาก 11 โรงงาน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  และนำมาวิเคราะห์ด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ของเพียร์สัน
     ผลการวิจัยพบว่า  ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (90.1%) อายุ 26-30 ปี (33.3%) และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี (39.4%) รายได้หลักอยู่ที่ 10,001-15,000 บาท (45.5%) ส่วนใหญ่ทำงาน 8-12 ชั่วโมงต่อวัน (78.8%) และไม่เคยประสบอุบัติเหตุ (57.6%) สาเหตุของอุบัติเหตุที่พบบ่อยคือการระเบิด ไฟฟ้าดูด/ช็อต และการยกของหนัก (12.1%) ช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงคือหลังการทำงาน 8-12 ชั่วโมง (18.2%) และในขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า (18.2%) บริเวณที่บาดเจ็บบ่อยคือศีรษะและใบหน้าข้างซ้าย (9.1%) สภาพปัจจุบันมีการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพอยู่ในระดับดีในทุกด้าน แนวทางพัฒนาการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ปฏิบัติงาน เพื่อลดอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ จึงควรลดชั่วโมงการทำงานและเพิ่มเวลาพักผ่อน รวมถึงเสริมการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยและปรับปรุงโครงสร้างบุคลากร การจัดองค์กรควรมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและจัดทำแผนงานที่ชัดเจน พร้อมปรับปรุงงบประมาณและการประเมินผล สภาพแวดล้อมควรได้รับการดูแลรักษาความสะอาดและตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ การป้องกันอุบัติเหตุควรมีการพัฒนาแผนฉุกเฉินและนิทรรศการความปลอดภัย สิ่งอำนวยความปลอดภัยต้องติดตั้งระบบเตือนภัยที่เหมาะสม และการจัดระเบียบต้องควบคุมปัญหาสภาพแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความปลอดภัย ลดความเสี่ยง และพัฒนาความปลอดภัยในการทำงานในโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ขวัญชาติ สายน้อย, เสรีย์ ตู้ประกาย, มงคล รัชชะ, ชัยวัฒน์ ภู่วรกุลชัย, ปาริชาติ หมื่นสีทา และโกวิท สุวรรณหงษ์. (2565).ศึกษาความสัมพันธ์ของกฎหมาย มาตรฐาน และคู่มือด้านความปลอดภัยในโรงงานก๊าซชีวภาพกับองค์ประกอบการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ปอมท. ประจำปี พ.ศ. 2565, 271-289.

จัดพล ภัยแคล้ว, สงวน วงศ์ชวลิตกุล และ มารุต โคตรพันธ์. (2561). ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรม ABC ในจังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 19 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 43-51.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ทรงศักดิ์ ใจกล้า. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรียานารถ สดากร. (2561). แนวทางส่งเสริมความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นพรัตน์ ศรีวงษ์แผน. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยในโรงไฟฟ้าบางบ่อ อำเภอบางบ่อจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก. 4(2), 1-14.

สิริมา เดชภิญญา. (2561). การรับรู้การจัดการด้านความปลอดภัยยของพนักงานบริษัท ABC. รายงานการค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2566). ไฟไหม้บ่อผลิตแก๊สในพื้นที่ ท่าฉาง สุราษฎร์ธานี.ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.tiktok.com/@chonyuen/video/7225887713973587205?_r=1&_t=8mTF0Fwmjhg

อภิวัฒน์ งานประเสริฐสกุล. (2563). การประเมินผลการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง. รายงานการค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Bontempo, G., Maciejczyk, M., Wagner, L., Findeisen, C., Mareike, F., & Hofmann, F. (2016). Guidelines For safe use of biogas technology. Freising: Fachverband Biogas e.V.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31