ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการที่หลงเหลือหลังการหายป่วยของการติดเชื้อโควิด-19 ของบุคลากรโรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • จุไรรัตน์ จิรภัทรโชติมณี โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

อาการที่หลงเหลือหลังการหายป่วยของการติดเชื้อโควิด-19, Long COVID-19 ในบุคลากร

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา(Retrospective descriptive study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ความสัมพันธ์ต่อภาวะลองโควิดของบุคลากรโรงพยาบาลนครปฐม ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เป็น บุคลากรที่ติดเชื้อ COVID – 19  ทุกรายที่ตอบแบบประเมินตนเองในการกลับเข้าทำงานของบุคลากรที่ติดเชื้อ COVID – 19 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึงเดือนธันวาคม 2565 รวมทั้งสิ้น 342 ราย  มีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ สืบค้นข้อมูลการรายงานอาการในแบบประเมินตนเองในการกลับเข้าทำงานของบุคลากรที่ติดเชื้อโควิด-19 ข้อมูลการตรวจสุขภาพปี 2565 และข้อมูลการนอนโรงพยาบาลหลังการติดเชื้อโควิด-19 นำข้อมูลที่ได้ไปบันทึกข้อมูลลงในแบบบันทึกที่สร้างขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการถดถอยโลจิสติก
     ผลการศึกษาพบว่า มีโรคอ้วนร้อยละ 14.33 มีโรคประจำตัวร้อยละ 29.24 ได้รับวัคซีนร้อยละ 98.54 นอนรักษาในโรงพยาบาลร้อยละ 4.09 (นอน 2 - 14 วัน) และมีอาการ Long COVID-19 ร้อยละ 70.47 การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิด Long COVID-19 ของบุคลากร ด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติก พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ โรคอ้วนและโรคประจำตัว โดยบุคลากรที่มีโรคอ้วนมีโอกาสเกิดมากกว่าไม่มีโรคอ้วน 2.38 เท่า และบุคลากรที่มีโรคประจำตัวมีโอกาสเกิดมากกว่าไม่มีโรคประจำตัว 1.719 เท่า

References

สิรินทร์ นาถอนันต์ และ พงศ์พันธ์ุ สุริยงค์. (2023). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง. Rama Med J, 46(1), 32-46.

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2566, จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศ รายสัปดาห์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

สยมพร ศิรินาวิน. (2563). “โควิด-19” ความรู้ สู่ปัญญา พัฒนาการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

ธีรพงศ์ ตัญเจริญสุขจิต. (2566). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะ Post acute COVID Syndrome (Long COVID) ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลลานกระบือ. วารสารกรมการแพทย์, 48(1), 51-59.

ภัทิรา ตันติภาสวศิน และ สิทธิชัย ตันติภาสวศิน. (2565). ภาวะโพสท์โควิด (ลองโควิด) Post-COVID Condition (Long COVID). วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 47(1), 67-84.

Advisory Board [Internet]. London; 2023. Daily Briefing: 6 factors that increase your risk of long COVID; [updated 2023 May 4; cited 2023 June 6]; {about 3 p.]. Available from: https://www.advisory.com/daily-briefing/2023/03/27/long-covid-risks

Asadi-Pooya AA, Akbari A, Emami A, Lotfi M, Rostamihosseinkhani M, Nemati H, et al. (2021). Risk Factors Associated with Long COVID Syndrome: A Retrospective Study. Iran J Med Sci. [cited 2023 Jun 6];46(6):428-436. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34840383/

อัศวิน รุ่งพัฒนกิจชัย. (2565). ลักษณะทางคลินิกและผลลัพธ์ของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีภาวะอ้วน ที่มารักษาในโรงพยาบาลเสนา. สรรพสิทธิเวชสาร, 43(3), 111-122.

คมเลนส์ สุนทร. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 38(1), 21-31.

พิชญามณฑ์ วรรณโก และอรุณรัตน์ สู่หนองบัว. (2565). ความสัมพันธ์ของวัคซีนโควิด-19 และความรุนแรงของการเจ็บป่วยโรคโควิด-19โรงพยาบาลชัยภูมิ ปี 2564-2565. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(3), 1057-1069.

เมธาวี หวังชาลาบวร, ศรัณย์ วีระเมธาชัย และธนกมณ ลีศรี. (2565). ความชุกของภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยที่มีประวัติติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการติดตามที่ระยะ 3 เดือนหลังการติดเชื้อ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(1), 265-284.

Vimercati L, De Maria L, Quarato M, Caputi A, Gesualdo L, Migliore G, et al. (2021). Association between Long COVID and Overweight/Obesity. J Clin Med, 10(18):4143. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34575251/

พงศกร ค้าพันธุ์. (2565). ภาวะ Long COVID และภาวะแทรกซ้อนระยะยาวทางระบบการหายใจจากโรคโควิด 19. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 18(2), 79-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31