การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา: การก่อสร้างเกสต์เฮาส์จากไม้ไผ่ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • ภฤศมน แจ่มสว่าง นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เสรีย์ ตู้ประกาย วศ.ด.รองศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชลีพรณ์ ธรรมพรรัมย์ ปร.ด.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชัยวัฒน์ ภู่วรกุลชัย ปร.ด.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชญานิษฐ์ วิทยาภิรมย์ ปร.ด.คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มงคล รัชชะ ปร.ด.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง Corresponding author

คำสำคัญ:

คาร์บอนฟุตพริ้นท์, เกสต์เฮาส์, Cradle-to-Gate , Business-to-Business: B2B

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา การก่อสร้างเกสต์เฮาส์จากไม้ไผ่ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้หลักการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ เพื่อประโยชน์ต่อหน่วยงานที่สนใจสามารถนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินและลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่าอาคารเกสต์เฮาส์นี้มีการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมด เท่ากับ 1,377.031 kgCO2e โดยอาคารมีพื้นที่ทั้งหมด 40 m2 ดังนั้นเมื่อเทียบการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่อพื้นที่ 1 m2 เท่ากับ 34.42 kgCO2e ได้ดำเนินการเปรียบเทียบอาคารที่ก่อสร้างแบบทั่วไปและอาคารบล็อกประสาน มีค่าเท่ากับ 13,152.02 42 kgCO2e  และ 8,322.62 kgCO2e หรือเมื่อเทียบกับ 1 m2 เท่ากับ 257.8842 kgCO2e และ 155.28 kgCO2e จะเห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบต่อ 1 m2 อาคารที่สร้างด้วยไม้ไผ่มีปริมาณการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำที่สุด โดยน้อยกว่าอาคารแบบทั่วไปถึง 7.5 เท่า และบล็อกประสานประมาณ 4.5 เท่า

References

กิตติศักดิ์ จินดาวงศ์ และคณะ. (2556). ความผันแปรของสมบัติของลำไผ่สามชนิดซึ่งปลูกในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชลิตา สุวรรณ และธณัฏฐ์ยศ สมใจ. (2563). การวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการก่อสร้างบ้านพักอาศัย : เปรียบเทียบระหว่างบ้านแบบทั่วไปกับบล็อกประสาน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 30(4), 570-575.

“ปาย” พัฒนาการการท่องเที่ยวจากเมืองผ่านสู่แหล่งท่องเที่ยวใหม่. จาก http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/thesis/2556/Parnprae_Chaoprayoon/chapter4.pdf

“Bamboo: A Sustainable Alternative for Modern Construction", International Journal of Environmental Studies (2014).

"Environmental Impact of Bamboo Transportation and Processing", Environmental Research Letters (2018).

"Carbon Footprint Reduction in Bamboo Construction Through Alternative Materials", Journal of Cleaner Production (2016).

"Sustainability Assessment of Bamboo Maintenance and Preservation Techniques", Journal of Sustainable Forestry (2020).

P. Zhang. (2018). "Carbon Mitigation Strategies in Bamboo-based Architecture", Journal of Cleaner Production.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31