การเปรียบเทียบกรณีศึกษา การพยาบาลผู้คลอดที่ติดเชื้อโควิค-19 เชื้อเอชไอวีและเชื้อซิฟิลิส ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร แสงฟ้าสกุลไท สถาบันบำราศนราดูร

คำสำคัญ:

ผู้คลอดที่ติดเชื้อโควิค-19, คลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิส

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา 2 ราย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้คลอดที่ติดเชื้อโควิค-19 เชื้อเอชไอวีและเชื้อซิฟิลิส และผู้คลอดที่ติดเชื้อโควิค-19 2 ราย ที่ได้รับการรักษาเปรียบเทียบโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนกอร์ดอน และกระบวนการพยาบาลในการวางแผนการพยาบาล
     ผลการศึกษา พบว่ากรณีศึกษาที่ 1 หญิงตั้งครรภ์อายุ 25 ปี G2P0A1 มีประวัติติดเชื้อเอชไอวีตั้งแต่อายุ18ปี และติดเชื้อซิฟิลิส VDRL Positive 1:1 เมื่อ 15 มิ.ย.2564 ได้ยาBenzathine penicillin 3 เข็ม ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เมื่ออายุครรภ์ 33 wks ตรวจ VDRL Positive 1:4 แพทย์ได้ทำการรักษาได้ยาBienzathine penicillin 2.4 mu IM x3 เข็ม อายุครรภ์ 40 wks มาตรวจ ANC ตามนัด ไม่เจ็บครรภ์ ไม่มีน้ำเดิน แพทย์ตรวจภายใน ปากมดลูกเปิด1เซนติเมตร ความบางของปากมดลูก 70% ส่วนนำ -1 FHS=142 ครั้ง/นาที แพทย์ให้ Admit แรกรับตรวจ PCR SAR CoV2= Detected แพทย์มีคำสั่งผ่าคลอดทางหน้าท้อง หลังการผ่าตัดคลอด ได้ส่งผู้ป่วยไปที่ตึกแยกโรค chest x-ray= pneumonia แพทย์ได้ทำการรักษาและติดตาม chest x-ray จนผู้ป่วยอาการดีขึ้น จึงอนุญาติให้กลับบ้านได้ ส่วนทารกไปที่ห้องแยกโรค ตึกทารกแรกเกิดวิกฤต เฝ้าระวังอาการและภาวะแทรกซ้อนจนถึงระยะปลอดภัย แพทย์จึงอนุญาตให้กลับบ้านได้ กรณีศึกษาที่ 2 หญิงตั้งครรภ์อายุ 32 ปี G1P0A0 ฝากครรภ์ที่ตามสิทธิ์ อายุครรภ์ 38 wks มาตรวจครรภ์ตามนัด ไม่เจ็บครรภ์ ไม่มีน้ำเดิน ตรวจPCR SAR CoV2= Detected ประวัติติดจากสามี แพทย์ให้ Admit ห้องคลอด ให้สังเกตอาการchest x-ray= infiltration LLL อายุครรภ์ 38+5 wks ตรวจ NST พบ การหดตัวของมดลูกระยะห่าง 7 นาที ความนานในการหดตัวของมดลูก 35วินาที ตรวจพบ uterine contraction แพทย์มีคำสั่งผ่าคลอดทางหน้าท้อง หลังการผ่าตัดคลอดเสร็จ ได้ส่งผู้ป่วยไปที่ตึกแยกโรค จนอาการดีขึ้น ตรวจPCR SAR CoV2= not Detected อายุรแพทย์พิจารณาให้ย้ายไปเฝ้าบุตรได้ ซึ่งทารกแรกคลอด กุมารแพทย์มีคำสั่งให้ไปที่ห้องแยกโรค เฝ้าระวังอาการและภาวะแทรกซ้อนจนถึงระยะปลอดภัย แพทย์จึงอนุญาตให้กลับบ้านได้

References

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2564. สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของประเทศไทย 2563. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/content/selet_landding_page?contentid=181

มณฑินี วสันติอุปโภคากร, นุชนารถ แก้วดำเกิง, นภกานต์ คนซื่อ, นันทวรรณ วงษ์ทิพย์, บรรณาธิการ. รายงานประจำปีกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2565. [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1484920231010090902.pdf

กองระบาดวิทยา. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2564. รายงานเฝ้าระวังโรค 506 พ.ศ.2565. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.

จุฬาลักษณ์ จิระพัฒน์สกุล. การติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์. [อินเตอร์เน็ต]. คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 11 ธันวาคม 2563. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม2567]. เข้าถึงได้จาก: https:// w1.med.cmu.ac.th/obgyn / lecturestopics /topid-review /5112/

เสาวนีย์ วิบุลสันติ, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล. โอภาส พุทธเจริญ. เอกจิตรา สุขกุล. รังสิมา โล่ห์เลขา. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. ฉบับปรับปรุงวันที่ 18 เมษายน 2566. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม2567]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/content/selet_landding_page?contentid=181

กรมการแพทย์. แนวทางการจัดบริการเพื่อดูแลผู้ป่วย COVID-19 สำหรับสถานพยาบาล. [อินเตอร์เน็ต]. ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3 วันที่ 3 กรกฎาคม 2566. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม2567]. เข้าถึงได้จาก: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/9280

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่ติดโรคโควิด-19. [อินเตอร์เน็ต]. ฉบับปรับปรุงวันที่ 21 กรกฎาคม 2566. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rtcog.or.th/files/1703040087_008fccaa0583d0daf470.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31