ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
โปรแกรม, พฤติกรรมสุขภาพ, ประชาชนกลุ่มเสี่ยง, โรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental research) กลุ่มเดียวแบบวัดซ้ำหลายครั้ง (One Group time Series Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพ และระดับความดันโลหิตในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อายุ 35 ปี ขึ้นไป ในชุมมชนบ้านม่วงหวานหมู่ที่ 8 อาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1 ปี เป็นผู้ที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 20 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้าศึกษา เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า หลังทดลอง กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความดันโลหิตซิสโตลิก และไดแอสโตลิกต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2565). ข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สืบค้นจาก https://www.ddc.moph.go.th/dncd/news.php?news=39911
กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2565). NCD โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. บุรีรีมย์: ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้นจาก https://brm.hdc.moph.go.th/hdc/reports.
Green, L.W., & Kreuter, M.W. (2005). Health Program Planning: An educational and ecological approach (4th ed). New York: McGraw–Hill.
ธนาพร ปะตาทะโย, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล และมุกดา หนุ่ยศรี. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์: วารสารพยาบาล. 2563;69(3)
พีระ บูรณะกิจเจริญ. (2554). โรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ หมอชาวบ้าน.
สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2558) . แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558). กรุงเทพฯ: ฮั่วน้ำพริ้นติ้ง.