ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
แอลกอฮอล์, พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นักศึกษาระดับปริญญาตรีบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ที่คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 301 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์ (Chi-Square) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value< 0.05 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.2 อายุเฉลี่ย 20.04 ปี (SD=0.92) รายได้ต่อเดือน 3,000-5,000 บาท ร้อยละ 54.8 เคยซื้อแอลกอฮอล์ร้อยละ 75.1 เคยดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 50.5 พักหอพักนอกมหาวิทยาลัย ร้อยละ 51.2 การซื้อแอลกอฮอล์ให้ตัวเองรับประทาน ร้อยละ 46.8 และจำนวนเงินที่ซื้อแต่ละครั้ง 801-1,000 บาท ร้อยละ 25.2 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ ที่พักอาศัย และรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value< 0.05 ส่วนปัจจัยด้าน อายุ สาขาวิชา ระดับชั้นปี ภูมิลำเนา การเคยซื้อแอลกอฮอล์ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
References
World Health Organization. Global status report on alcohol and health 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย ปี 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2564.
สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2566. อุบลราชธานี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
DeWit DJ, Adlaf EM, Offord DR, Ogborne AC. Age at first alcohol use: A risk factor for the development of alcohol disorders. American Journal of Psychiatry. 2000;157(5):745-750.
Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6 th ed. New York: John Wiley & Sons; 1995.
Cronbach LJ. Essential of psychology testing. New York: Harper; 1984.
ปราณี สิริวัฒน์, นามสกุลตัวอย่าง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาเพศหญิงในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิจัยสุขภาพและสังคม. 2565;10(2):123-135.
Jones SC, Barrie L, Robinson L, Allsop S. Promotion of alcohol to young people: Perspectives and practice in the Australian alcoholic beverages industry. Public Health. 2015;129(11):1400-1410.
Smith LA, Foxcroft DR. The effect of alcohol advertising, marketing, and portrayal on drinking behavior in young people: Systematic review of prospective cohort studies. BMC Public Health. 2017;9(1):51.
Atkinson AM, Sumnall H, Measham F. Depictions of alcohol use in a UK government partnered social marketing campaign: young people’s interpretations and recommendations. BMC Public Health. 2011;11(1):316.
Anderson P, de Bruijn A, Angus K, Gordon R, Hastings G. Impact of alcohol advertising and media exposure on adolescent alcohol use: a systematic review of longitudinal studies. Alcohol Alcohol. 2009;44(3):229-243.
กิตติพงศ์ สุขะพันธ์, สายพิณ จิตรสุนทร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารการวิจัยทางพฤติกรรม. 2563;15(1):45-59.
Wilsnack RW, Wilsnack SC, Kristjanson AF, Vogeltanz-Holm ND, Gmel G. Gender and alcohol consumption: patterns from the multinational GENACIS project. Addiction. 2009 Sep;104(9):1487-500.
Kuntsche E, Rehm J, Gmel G. Characteristics of binge drinkers in Europe. Soc Sci Med. 2004 Dec;59(1):113-27.
Wechsler H, Nelson TF. Binge drinking and the American college student: what's five drinks? Psychol Addict Behav. 2001 Dec;15(4):287-91.
สุรศักดิ์ ศุภวิริยาภรณ์, สุรัตน์ ศุภวิริยาภรณ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารการวิจัยการพยาบาล. 2558;13(2):112-120.
สมศักดิ์ อ่อนน้อม, อัมพร ภู่วิจิตร. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาในประเทศไทย. วารสารวิทยาการสาธารณสุข. 2561;15(3):145-154.