ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ปกครองเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
โรคธาลัสซีเมีย, โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ปกครองเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น การวิจัยดำเนินการในรูปแบบกึ่งทดลอง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองจำนวน 20 คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองของเด็กอายุระหว่างแรกเกิดถึง 15 ปีที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย ข้อมูลถูกรวบรวมผ่านแบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบความตรงและความเที่ยงจากผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value <0.001, 95% CI = 3.51 – 5.58) นอกจากนี้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลเด็กของผู้ปกครองก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value <0.001, 95% CI = 1.18-1.50) และพฤติกรรมการดูแลเด็กที่ป่วยของผู้ปกครองดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังจากเข้าร่วมโปรแกรม โดยพบว่าผู้ปกครองทุกคนมีพฤติกรรมการดูแลในระดับสูงหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value <0.001, 95% CI = 1.66-1.86)
References
ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ และคณะ.(2563). รูปแบบการจัดการตนเองของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 28(2):27-39
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.(2558). สถานการณ์ผู้ป่วยธาลัสซีเมียประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
ขนิษฐา พิศฉลาด, เกศมณี มูลปานันท์.(2556). การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียและผู้ดูแล. พยาบาลสาร. 40(3):97-108.
Gibson C.H.(1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children.. Journal of Advanced Nursing. 21(6):1201–1210
มณีพร ภิญโญ.(2561). ผลของโปรแกรมเสริมพลังอำนาจต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วัชราภรณ์ สิมศิริวัฒน์, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, นิสากร กรุงไกรเพชร.(2560). ผลการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนและพฤติกรรมการส่งเสริมการควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.25(2):94-104.
ธนาวรรณ แสนปัญญา, คณะ.(2564). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการดูแลผู้ป่วยระยะกลางกลุ่มผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัด. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 29(2):15-33.
โรงพยาบาลบ้านไผ่.(2566). ข้อมูลจากสารสนเทศโรงพยาบาลบ้านไผ่ ขอนแก่น: โรงพยาบาลบ้านไผ่.
นัยนา ธัญธาดาพันธ์, เรณุการ์ ทองค ารอด, บุญทิพย์ สิริธรังศรี.(2563). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลต่อความรู้ ความสามารถในการดูแล และการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุที่ผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลสตูล. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 13(2):232-244.
ณีรนุช วงค์เจริญ.(2565). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่.
อรสา นําชัยศรีค้า, สุภาพ ไทยแท้.(2562). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในสตรีที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่. วารสารเกื้อการุณย์. 26(2):78-92.
นาฎตยา ศรีสวัสดิ์, นิลาวรรณ ฉันทะปรีดา.(2563). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจมารดาต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 43(3):34-44.