การจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยต่อการเพิ่ม ความรู้ ทักษะและพฤติกรรมการจัดการความปลอดภัยจากอัคคีภัยในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ของสถานศึกษาในตำบลป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • ธิติมา ณ สงขลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ศูนย์วิจัยนวัตกรรมเคมีวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • สุธีร์ อินทร์รักษา อาจารย์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง Corresponding author

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างความรู้, การจัดการความปลอดภัย, อัคคีภัย, การอพยพ, เหตุฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

     การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินระดับความรู้ ทักษะและการจัดการความปลอดภัยจากอัคคีภัยในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานของสถานศึกษา (2) เปรียบเทียบความรู้ ทักษะและพฤติกรรมการจัดการความปลอดภัยจากอัคคีภัยในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานของสถานศึกษา ก่อน-หลัง การจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 51 คน ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามดำเนินการก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
     ผลการศึกษาทำให้ทราบระดับความรู้ ทักษะและการจัดการความปลอดภัยจากอัคคีภัยในกลุ่มบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีและหลังจากจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมส่งเสริม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประเด็นที่เห็นถึงความแตกต่างที่ชัดเจน ได้แก่ การจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่อาคารเรียน พื้นที่ทั่วไปในโรงเรียน การตรวจสอบสภาพความพร้อมใช้งานของถังดับเพลิงเบื้องต้น การแจ้งเหตุฉุกเฉิน การดับเพลิงที่ถูกต้อง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการจัดทำแผนฉุกเฉิน

References

ศูนย์ข้อมูลสาธารณภัย.(2567). สถิติรายปีอัคคีภัย [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2567]. เข้าถึงจาก : https://datacenter.disaster.go.th/datacenter/cms?id=8528

ณ.พงษ์ สุขสงวน, เลิศเลขา ศรีรัตนะ, กฤษดา พิศลยบุตร, วรานนท์ คงสง, นันท์นภัสร อินยิ้ม, บุญธรรม หาญ พาณิชย์ และโกนิฏฐ์ ศรีทอง.(2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะที่จำเป็นของผู้ตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม 1: 42-56.

สุธาสินี ไหมทอง, อำนาจ ผดุงศิลป์ และประศาสน์ จันทราทิพย์.(2559). การศึกษาการจัดการการอพยพหนีไฟในอาคารโรงเรียนอนุบาล: กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 1: 949-959.

เปมิกา ไทยชัยภูมิ.(2561). การศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

กัมปนาท นาคบัว.(2565). การศึกษาแนวทางการดำเนินงานรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พระพร มุขยวงศา และวรวรรณ เหมชะญาติ.(2566). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัยใน โรงเรียน สำหรับเด็กวัย อนุบาล. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย. 1:18-31.

อมรพงศ์ พันธ์โภชน์ และจรุณี เก้าเอี้ยน.(2558). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของกลุ่มลำภู-บางนาค สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1: 34-45.

ทศพล เครือวงศ์วานิช, ณัฐธยาน์ ชุมวงษ์ และจิตราวดี รุ่งอินทร์ กันกา.(2562). การจัดทําแผนเตรียมความพรอมในการปองกันอัคคีภัยและการอพยพสําหรับโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ. การประชุมวิชาการสําหรับนักศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2; 7 มิถุนายน 2562; คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพ ฯ, ไทย.

กนกลักษณ์ อรรคมุต และธดา สิทธิ์ธาดา.(2564). แนวทางการบริหารสถานศึกษาปลอดภัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 1: 102-107.

อนุสรณ์ เสาร์คำ.(2567). การบริหารงานส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษาโรงเรียนในอำเภอกัลยาณิวัฒนา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์. 2: 119-132.

รชตภรณ์ ขัยประภา และสายฝน แสนใจพรม.(2566). แนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษาโรงเรียนสันทรายหลวงอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. 1: 91-108.

พสชนัน ศรีโพธิ์ทอง และวสุรัตน์ บุญเพ็ง.(2564). การศึกษาการอพยพหนีไฟในสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิโดยใช้ โปรแกรมทางพลศาสตร์อัคคีภัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี. 1: 33-47.

ณัฐวุฒิฑ์ จำอยู่.(2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานป้องกันและระงับอัคคีภัยของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2: 22-29.

นวพร สุขศรี.(2560). การรับรู้การจัดการความปลอดภัย และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน: กรณี ศึกษาบริษัท ฯ ผลิตยางรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต].ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพ.

พิมพิไล ใจตรง, วันเพ็ญ ทรงคำ และกัลยาณี ตันตรานนท์.(2566). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมออนไลน์สำหรับเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยในการทำงานในนักเรียนอาชีวศึกษา. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2: 238-254.

สัณห์จุฑา วิชชาวุธ.(2564). รูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารสูง ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 1: 1-13.

ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม.(2554). ความปลอดภัยจากอัคคีภัยในอาคารสูง. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 2: 1-9.

สรญา พุทธขิน, พรรัตน์ แสดงหาญ และอภิญญา อิงอาจ.(2558). ทัศนคติความปลอดภัย การรับรู้การปฏิบัติตามกฎหมาย และพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี.วารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา. 2: 50-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ณ สงขลา ธ., & อินทร์รักษา ส. (2024). การจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยต่อการเพิ่ม ความรู้ ทักษะและพฤติกรรมการจัดการความปลอดภัยจากอัคคีภัยในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ของสถานศึกษาในตำบลป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 91–99. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3293