รูปแบบการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ใกล้ชิด ผู้ป่วยวัณโรคปอดในพื้นที่อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยใช้กลไก พชอ.
คำสำคัญ:
ผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการค้นหารายป่วยวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดฯ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ผู้รับผิดชอบงานวัณโรคของโรงพยาบาลชุมชนและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 40 คน 2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 150 คน 3) ผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค 268 คน และ 4) ผู้เชี่ยวชาญ ด้านวัณโรค 11 คน เครื่องมือวิจัย มี 7 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบบันทึกประเด็นการวิเคราะห์สภาพปัญหา 2) แบบสรุปทะเบียนฐานข้อมูลผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิด 3) แบบคัดกรองวัณโรคด้วยวาจา 4) แบบทดสอบความรู้ของ อสม. 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบ 6) แบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ และ 7) แบบบันทึกผลการขึ้นทะเบียนและการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Dependent t – test
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาศักยภาพ อสม. ก่อนการพัฒนาศักยภาพค่าคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.64 (S.D. = 2.13) และหลังการพัฒนาค่าคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 8.92 (S.D. = 0.82 ) พบค่าความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean difference: ) เท่ากับ 4.28 (95%CI: 3.98 ถึง 4.59) โดยค่าความแตกต่างดังกล่าวมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) 2) ฐานข้อมูลผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิด ในระหว่างปีพ.ศ. 2566 ได้รับการคัดกรองจาก อสม. จำนวน 2,872 ราย พบความเสี่ยง 32 ราย และปีพ.ศ. 2567 ได้รับการคัดกรองจาก อสม. ด้วยแอพิเคชั่น จำนวน 5,520 ราย พบความเสี่ยง 76 ราย 3) ผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคระหว่างปีพ.ศ. 2564-2566 เทียบกับปีพ.ศ. 2567 จำนวน 87, 94, 157 และ 268 ราย ตามลำดับ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 4) ผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรถเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray) เคลื่อนที่ และตรวจเสมหะ จำนวน 360 ราย ผิดปกติ จำนวน 16 ราย และส่งตรวจเสมหะยืนยัน พบเป็นผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 13 ราย 5) ความพึงพอใจของสัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคต่อรูปแบบการค้นหารายป่วยวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดฯ ภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.56, S.D. = 0.38) 6) ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการค้นหารายป่วยวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดฯ ภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.47, S.D. = 0.32)
References
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานวัณโรค Cohort Report [อินเตอร์เน็ต]. https://tbcmthailand.net สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567.
World Health Organization (WHO). Global tuberculosis report 2023. URL http://www.tbonline.info/posts/2016/10/16/global-tb-report-2023/ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560- 2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2560.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2565.
สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติราชการเชิงยุทธศาสตร์วัณโรค ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564-2568). http://www.healtharea.net/wp-content/uploads/2018/01 สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. รายงานผลการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (รอบที่ 2). ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2566.
โรงพยาบาลหนองเรือ สำนักงานสาธารณสุจังหวัดขอนแก่น. ฐานข้อมูลวัณโรคประเทศไทย (National Tuberculosis Information Program: NTIP). https://ntip-ddc.moph.go.th/ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567.
พีระพัชร ไทยสยาม. การดำเนินงานค้นหาและรักษาผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2565. 8(2) : 11 -19.
ปิยะวดี ฉาไธสง, เสาวลักษณ์ อภิสุข, กัญญลักษณ์ ทองนุ่ม, วรุณยุพา สกล, สมคิด เกิดแก่น, มานพ เทพสุภา, ศรีสุดา สมัดชัย และอุไรพร แสงมณี.การค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่จากกลุ่มผู้สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิด. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2561, 11(1): 1-7.
พิชิต แสนเสนา และสมลักษณ์ หนูจันทร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านโดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565; 4(2): 665 – 673.
Stufflebeam, D.L. (1981). Educational Evaluation and Decision Making. Illinois: Peacock.
ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2552.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.(2549). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6; กรุงเทพฯ : จามจุรี. 2549.
สมพงษ์ จรุงจิตตานุสนธ์. รูปแบบการควบคุมวัณโรคในเขตเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26(2): 571-78.
เครือวัลย์ ดิษเจริญ.( 2557). การค้นหารายป่วยวัณโรค ในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอด โดยความร่วมมืของสมาชิกในครอบครัวและอาสาสมัครงานวัณโรค อำเภอเสลภูมิ-ทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร, บุญทนากร พรมภักดี, จุลจิลา หินจำปา, คณยศ ชัยอาจ และกิตติศักดิ์ สีสด. รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า แบบบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโมเดลเชิงตรรกะตามนโยบายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชพ.): องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพลอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 2563. 27(3): 111-132.
อนงค์ บังกระโทก, เหรียญทอง สิทธิ และตระกูลไทย ฉายแม้น. รูปแบบการประเมินผลการเฝ้าระวังและควบคุมวัณโรคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13(2): 361-369.