ผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
โปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรม, การจัดการตนเอง, ยาวาร์ฟารินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น ก่อนและหลังการจัดโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรม ดำเนินการวิจัยในเดือนมิถุนายน 2567 ถึงกันยายน 2567 โดยใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (The One-Group Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงคือผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟาริน ที่คลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลพระยืน ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการตนเอง แบบทดสอบความรู้การใช้ยาวาร์ฟาริน แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวตามแผนการรักษาของแพทย์ และแบบบันทึกประวัติการได้รับยาวาร์ฟาริน ผลการเจาะเลือดผู้ป่วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้การใช้ยาวาร์ฟาริน คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติตัวตามแผนการรักษาของแพทย์ ก่อนและหลังการจัดโปรแกรม โดยใช้สถิติ t-test (Paired samples) และเปรียบเทียบสัดส่วนของผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟาริน ที่มีระดับค่าไอ เอ็น อาร์ อยู่ในช่วงตามเป้าหมายการรักษา ก่อนและหลังการจัดโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการตนเองโดยใช้สถิติ X2–test
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจัดโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการตนเอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับและคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการใช้ยาวาร์ฟาริน และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติตัวตามแผนการรักษาของแพทย์ สูงกว่าก่อนการจัดโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) 2) หลังจัดโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการตนเอง พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีระดับค่าไอ เอ็น อาร์ (INR) 2.0 – 3.0 ตามเป้าหมายการรักษา ร้อยละ 88.89 เพิ่มขึ้นจากก่อนการจัดโปรแกรมร้อยละ 30.56 และมากกว่าก่อนจัดโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)
References
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติที่ดี เรื่อง การบริบาลทางเภสัชกรรม ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน. กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
พรศิริ อุดมเดชาณัติ. การพัฒนาแบบทดสอบความรู้เรื่องการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ณ โรงพยาบาลปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.
โรงพยาบาลพระยืน. สรุปผลการดำเนินงานคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลพระยืน ปี 2566. กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระยืน; 2566.
วิทยา วิริยะมนต์ชัย. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2563; 10(1): 118-131.
นุชรีย์ ทองเจิม และ จิราภรณ์ อินแก้ว. ประสิทธิผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่. วารสารกระบี่เวชสาร 2564; 4(1): 47-55.
สุวรส ลีลาศ. ผลการบริบาลเภสัชภรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยา Warfarin. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2564; 6(2): 81-85.
ติยารัตน์ ภูติยา. การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับการดูแลผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟารินโรงพยาบาลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2566; 12(1): 58-69.
อุทัย บุญเรือน. ผลของการให้คำปรึกษาแบบสั้น (Brief Intervention) ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟาริน คลินิกวาร์ฟาริน งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ปี 2565. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2566; 8(1): 229-238.
รุจิรา บุตรจันทร์, สงครามชัย ลีทองดี และรับขวัญ เชื้อลี. การพัฒนารูปแบบคุณภาพบริการคลินิกวาร์ฟาริน ตามเกณฑ์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2562; 8(1): 39-55.