การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนบทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบสวนการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และแบบสอบถามการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอ ตำบล ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และ paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น พบว่า ปี พ.ศ. 2562-2566 มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยผู้บาดเจ็บมากสุดเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี พาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากสุดคือ รถจักรยานยนต์ เมื่อสังเคราะห์ข้อมูลผู้เสียชีวิต ปี 2566 ตาม Haddon’s Matrix ปัจจัยสำคัญด้านบุคคล ได้แก่ เป็นผู้สูงอายุ ดื่มแอลกอฮอล์ มีโรคประจำตัว ไม่สวมหมวกนิรภัย ปัจจัยด้านพาหนะ ได้แก่ รถจักรยานยนต์ปรับแต่ง และจักรยานยนต์พ่วงข้าง ไม่มีทำ พ.ร.บ. ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ แสงสว่าง สภาพชำรุด ทางโค้ง ลาดชัน เปียก หลังดำเนินการมีการดำเนินงานในด้านจัดทำแผนงานป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
ทางถนน และดำเนินงานต่อเนื่อง จำนวนหน่วยงานที่เข้าร่วมดำเนินการ การรวบรวมข้อมูลการบาดเจ็บและเสียชีวิตของตำบล การสำรวจจุดเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิต การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ มาตรการชุมชน การสอบสวนการบาดเจ็บ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร กรณีเกิดเหตุการณ์ในพื้นที่ และการเฝ้าระวังอุบัติเหตุในชุมชนหน่วยงาน สูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยจำนวนการบาดเจ็บเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดลง
References
Kemmis S, Mc Taggart R.(1982). The Action Research Planner. Deakin University Press: Victoria.
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566) .แบบสอบสวนการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dip/pagecontent.php?page=795&dept=dip
โรงพยาบาลอุบลรัตน์. (2566). รายงานจำนวนครั้งการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน อำเภออุบลรัตน์. เอกสารอัดสำเนา
องค์การอนามัยโลก. (2559). รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: บริษัทสแกนด์มีเดีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. (2554). แผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2554-2563. กรุงเทพมหานคร: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนตอประชากรแสนคน ป พ.ศ. 2556-2558 จําแนกรายจังหวัด [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 26 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://thaincd.com/document/file/info/injured/dataInjury%2056-58(12-09-16).pdf
ศูนย์ความร่วมมือด้านข้อมูลการบาดเจ็บ. (2566). ระบบบูรณาการการเสียชีวิต (3 ฐาน) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://dip.ddc.moph.go.th/new/
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2567). 6 วิธีเว้นระยะห่างทางสังคมป้องกัน COVID-19. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledge/categories/covid19/
อารุณรัตนศ์ อรุณนุมาศ และวิสิทธ์ มารินทร์. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในระดับอำเภอ กรณีศึกษาอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2563; 1:82-93.