ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิด สบช.โมเดล ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต.เที่ยงแท้ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

ผู้แต่ง

  • อรนุช นุ่นละออง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • ยุทธนา นุ่นละออง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • ศศิมา วัฒนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

คำสำคัญ:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิด, สบช.โมเดล, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิด สบช.โมเดล ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิด สบช.โมเดล กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต.เที่ยงแท้ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทย อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท โดยการสุ่มเฉพาะเจาะจง จำนวน 24 ประเมินผลลัพธ์โดยใช้แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิด สบช.โมเดล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าทีแบบสัมพันธ์กัน
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามแนวคิด สบช.โมเดล ก่อนและหลังใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05      2) พฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิด สบช.โมเดล ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิด สบช.โมเดล ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต.เที่ยงแท้ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 โดยค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิด สบช.โมเดลหลังเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (M=2.66, SD=0.46) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (M=2.08, SD=0.70)

References

สมจิตต์ สินธุชัย และคณะ.(2564). การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง ในคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดสระบุรี. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5384?locale-attribute=th

โรงพยาบาลสรรคบุรี.(2566). รายงานผลการดำเนินงานโรคเบาหวาน. เอกสารคัดสำเนา

โรงพยาบาลส่งเสรืมสุขภาพตำบลบ้านไทย.(2566) สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปี พ.ศ.2566. เอกสารคัดสำเนา

อนุชา วรหาญ.(2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเลาขวัญ. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 12(27) : 5-22. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/242633

ขนิษฐา สระทองพร้อม และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์.(2564). การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2ส. ในประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 3(1):38-50.

นงลักษณ์ ตุ่นแก้วและคณะ.(2561). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส.1ย. และ การใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ต่อความรู้พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 24(2):83-95.

ศิริขวัญ เพ็ญสุวรรณและคณะ.(2561). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ในผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงสูง. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม อำเภอตะโหมดจังหวัดพัทลุง.

กิ่งเพชร แก้วสิงห์.(2562). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานกลุ่มเสี่ยง อำเภอพนมไพร จังหวัด ร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นสหชม เอโหย่ และคณะ.(2565). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตามแนวคิด สบช. โมเดลในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 5(2):129-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

นุ่นละออง อ., นุ่นละออง ย., & วัฒนา ศ. (2024). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิด สบช.โมเดล ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต.เที่ยงแท้ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 195–203. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3347