การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ธัญชนก จิตจง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, หญิงตั้งครรภ์, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย เลือกกรณีศึกษา 2 ราย แบบเฉพาะเจาะจงในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการคลอด และมีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลภูเวียง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วยญาติ การศึกษาพยาธิสภาพ การดำเนินของโรค  วิเคราะห์ข้อมูล วางแผน ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาล โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอนและกรอบแนวคิดของโอเร็ม
     ผลการศึกษา: กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาที่ห้องคลอด โดยพบว่า ทั้ง 2 รายมีปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดที่เหมือนกัน คือ มีประวัติการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์แรกทั้ง 2 รายทำให้เป็นปัจจัยให้เกิดอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ทั้ง 2 รายมีภาวะซีดทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในร่างกายได้ง่าย6,  อีกทั้งกรณีศึกษารายที่ 1 มีแบบแผนการขับถ่ายที่มักจะกลั้นปัสสาวะเป็นประจำทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด5, ได้รับการดูแลให้ยาเสริมธาตุเหล็ก ยาปฏิชีวนะ ยายับยั้งการเจ็บครรภ์และได้รับการดูแลขณะได้รับยายับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดตามมาตรฐาน ขณะได้รับยาพบภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยา ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลตามมาตรฐานจนสามารถยับยั้งการคลอดได้สำเร็จ และได้รับการประสานส่งต่อคลินิกฝากครรภ์เพื่อดูแลต่อเนื่อง ส่วนกรณีศึกษารายที่ 2 มีภาวะซีดอีกทั้งสามีและภรรยาเป็นคู่เสี่ยงพาหะธาลัสซีเมีย ไม่พบการติดเชื้อในร่างกาย ได้รับการดูแลให้ยาเสริมธาตุเหล็ก ยายับยั้งการเจ็บครรภ์ ขณะได้รับยาพบภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยา ได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐาน แต่ไม่สามารถยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดได้ ได้รับการส่งต่อตามมาตรฐานการส่งต่อได้อย่างปลอดภัยและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

References

บุศรินทร์เขียนแม้น, เยาวเรศ ก้านมะลิ, และวรรณวิมล ทุมมี. (2565). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิง ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ;15(3):286-300.

HDC. กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐานงานอนามัยแม่ละเด็ก ร้อยละหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 2564-2566.สืบค้นได้จาก : https://hdcservive.moph.go.th/hdc/reports/

HDC. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ปีงบประมาณ 2564-2566. สืบค้นได้จาก : https://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลภูเวียง. สถิติผู้ป่วยในโรงพยาบาลภูเวียง ปีงบประมาณ 2564-2566.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดสำหรับประเทศไทยฉบับ พ.ศ. 2566.

ศิริกนก กลั่นขจร.(2564). บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากากรขาดธาตุเหล็ก. วารสารสภากาชาดไทย;14(1):54-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

จิตจง ธ. (2024). การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 153–161. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3353