การพัฒนาระบบการคัดกรองในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระร่วมกับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และไส้ตรงจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • นาคี สอนโพธิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร
  • ธีรารัตน์ พลราชม นายแพทย์เชี่ยวชาญ(ด้านเวชกรรมป้องกัน) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร
  • ทวีศิลป์ กุละนาม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบการคัดกรอง, การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ, การส่องกล้องลำไส้ใหญ่

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระร่วมกับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และไส้ตรงจังหวัดสกลนคร และเพื่อตรวจคัดกรองหาผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในระยะเริ่มแรก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนอายุ 50-70 ปี จำนวน 246 รายคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาดำเนินการ เดือน กุมภาพันธ์ 2566 - กุมภาพันธ์ 2567 โดยใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงจังหวัดสกลนคร แบบประเมินเพื่อค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะแรก แบบสอบถามวัดความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง แบบสอบถามวัดการรับรู้พฤติกรรมที่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และชุดทดสอบตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วย Paired t-test
     ผลการวิจัยพบว่า ระบบการคัดกรองในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระร่วมกับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และไส้ตรงจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย การป้องกัน 4 ระยะตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แบบคาราวานพาศัลยแพทย์มาพบประชาชน และการติดตามกลุ่มเสี่ยงที่ส่องกล้องรวมถึงกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงที่กลับเป็นซ้ำ ทำให้ประชาชนที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีคะแนนเฉลี่ย หลังได้รับโปรแกรมเพิ่มขึ้น 1.12 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ P<.05 และพบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในระยะเริ่มแรก จำนวน 2 รายคิดเป็นร้อยละ 2.24 

References

สุทธิมาศ สุขอัมพร และ วลัยนารี พรมลา. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่และไส้ตรงของบุคลากรในโรงพยาบาล. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 15ฉบับที่ 38กันยายน-ธันวาคม2564.

กนกวรรณ บุญสังข์. (2553). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมแสวงหาการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล)

บรรลือ เฉลยกิตติ. (2545). ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์. ประคอง กรรณสูต. (2542). การวิจัยทางพฤติกรรมคาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัทรีญา แก้วแพง. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่. คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ปริญญานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์.

วราพร เพ็ชรวิเศษ. (2566). การพัฒนาตัวแบบทำนายสัญญาณเตือนโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วลัยนารี พรมลา และ คณะ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.

ศุภิสรา สุวรรณชาติ. (2565). ระดับความรู้และความต้องการข้อมูลเรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ ตรงของประชาชน. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา.ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 (2022): มกราคม - มิถุนายน.

อุริษา วิทยาวราพงศ์. (2567). การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์.ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2567.

Alatise, O. I., Fischer, S. E., Ayandipo, O. O., Omisore, A. G., Olatoke, s. A., & Kingham, T.P. (2017). Health-Seeking Behavior and Barriers to Care in Patients With Rectal Bleeding in Nigeria. Journal of global oncology, 3(6), 749-756.

Christine Rini, et al. (2008). Distress among inflammatory bowel disease patients at high risk for colorectal cancer: a preliminary investigation of the effects of family history of cancer, disease duration, and perceived social support. Psycho- Oncology Volume 17, Issue 4 / p. 354-362.

Cockburn, J., Paul, C., Tzelepis, F, McEIduff, P., & Byles, J.(2003). Delay in seeking advice for symptoms that potentially indicate bowel cancer. American journal of health behavior, 27(4), 401-407.

Green, P. M., & Kelly, B. A. (2004). Colorectal cancer knowledge, perceptions, and behaviors in African Americans. Cancer Nursing, 27(3), 206-215.

James, Campbell, and Hudson. (2002). Perceived Barriers and Benefits to Colon Cancer Screening among African Americans in North Corolina: How Does Perception Relate to Screening Behavior?. American Association for Cancer Research Journals. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev (2002) 11 (6): 529–534.

LK Larkey., J Gonzalez. (2007). Storytelling for promoting colorectal cancer prevention and early detection among Latinos. Patient Education and Counseling. Volume 67, Issue 3, August 2007, Pages 272-278. for cancer: a quantitative and qualitative approach. Patient Education and Counseling. Volume 35, Issue 1, 1 September 1998, Pages 35-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

สอนโพธิ์ น., พลราชม ธ. ., & กุละนาม ท. (2024). การพัฒนาระบบการคัดกรองในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระร่วมกับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และไส้ตรงจังหวัดสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 162–169. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3354