การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) โดยการสร้างความตระหนักรู้ในการจัดการตนเอง ในสถานการณ์โควิด-19 โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • วราลี วงศ์ศรีชา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม
  • วรรณ์นิภา แสนสุภา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม
  • พิมพ์ญดา เนียมแดง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, การพัฒนารูปแบบ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, การสร้างความตระหนักรู้, สถานการณ์โควิด-19

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานเพื่อลดระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) โดยการสร้างความตระหนักรู้ในการจัดการตนเองในสถานการณ์โควิด-19 โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีค่าน้ำตาลสะสม 7-7.99 % อายุน้อยกว่า 60 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ส่วน คือ เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีการเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2565 ถึง 15 ธันวาคม 2565 การวิเคราะห์ข้อมูลโดย เปรียบเทียบคะแนนด้านความรู้,ความตระหนักรู้ และพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานโดยใช้สถิติ paired t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้านความพึงพอใจ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา(descriptive statistic) โดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการศึกษา พบว่าคะแนนความรู้,ความตระหนักรู้ และพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างหลังการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และด้านค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม (HbA1C) ของกลุ่มตัวอย่าง หลังการพัฒนามีค่าลดลง จากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เช่นกัน ส่วนในด้านความพึงพอใจ พบว่าหลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาในทุกด้านจากในระดับน้อยเป็นระดับมาก

References

กรมควบคุมโรค.(2564) .รายงานประจำปี 2564. กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

ศศิธร ชิดนาย(2564).การดูแลผู้เป็นเบาหวาน: บทบาทของพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด 19.บทความวิชาการ(Academic article).วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์; ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (2021): ม.ค.- มิ.ย. 2564.

วิชุดา จันทะศิลป์ (2565).การดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน : ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา;ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2022): พ.ค.–ส.ค. 2565.

โรงพยาบาลนาแก(2565) สรุปสถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาและขึ้นทะเบียนในโรงพยาบาลนาแก ในปี 2562 – ปี 2564

กงทอง ไพศาล(2562).การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โดยใช้กระบวนการการเสริมสร้างพลังอำนาจและการดูแลต่อเนื่อง ในศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น.วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (2019): กรกฎาคม - ธันวาคม 2562.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ.(2565). การพัฒนารูปแบบการให้บริการวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(เบาหวานและความดันโลหิตสูง).พิมพ์ครั้งที่ 1,บริษัท สินทวีการพิมพ์ จำกัด:นนทบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

วงศ์ศรีชา ว. ., แสนสุภา ว. ., & เนียมแดง พ. . (2024). การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) โดยการสร้างความตระหนักรู้ในการจัดการตนเอง ในสถานการณ์โควิด-19 โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 220–229. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3367