การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, หญิงตั้งครรภ์, ภาวะคลอดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและผลของการพัฒนารูปแบบดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ในสถานบริการพื้นที่นำร่อง 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอสว่างแดนดิน และอำเภอโพนนาแก้ว ในช่วงปีงบประมาณ 2564 จำนวน 50 คน ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปแบบประเมินความรู้หญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด และแบบคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด การวิเคราะห์ข้อมูล: ข้อมูลทั่วไปและปัจจัยเสี่ยงฯ ใช้ค่าจำนวน ร้อยละ, ความรู้การป้องกันการคลอดก่อนกำหนดใช้ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน เปรียบทียบก่อน-หลังร่วมกิจกรรม โดยใช้สถิติ paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์กลุ่มตัวอย่างมีปัจจัยเสี่ยง 3 อันดับแรก ได้แก่ ทำงานหนัก ร้อยละ 24, ความเครียด ร้อยละ 16, ประวัติเคยคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 12, ปัจจัยเสริมที่พบมากที่สุดคือ มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น DM, HT Anemia, BMI มากหรือน้อยกว่าปกติ ร้อยละ 10 หลังร่วมกิจกรรมคะแนนความรู้การป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 7.52 (SD =1.501) เป็น 9.28 (SD= .858) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และอำเภอนำร่อง 5 แห่ง มีภาวะคลอดก่อนกำหนดลดลง 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกุสุมาลย์, อำเภอสว่างแดนดิน และอำเภอกุดบาก ร้อยละ 13.33, 10.64 และ 8.15 ลดลงเป็นร้อยละ 8.15, 7.65 และ 5.56 ตามลำดับ
References
เขตบริการสุขภาพที่ 8 (2563). สถิติการคลอดก่อนกำหนดใน ปีพ.ศ. 2560-2562 เขตบริการสุขภาพที่ 8
ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. (2560). ปัจจัยเสี่ยงทีเหมาะสมในการคัดกรองการคลอดก่อนกำหนด. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(1): S64-9.
Eaton, J., & Johnson, R. (2000). Coaching Successfully. United States: Dorling Kiddersley Publishing.
รัศมี พิริยะสุทธิ์, สุนันทา สงกา, พณาวรรณ พาณิชย์. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(2): 376-388.
สุพัตรา ปิ่นแก้ว, เอมพร รตินธร, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, วิบูลย์ เรืองชัยนิคม. (2557). ผลของโปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่ออัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและอัตราการคลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 22(4): 58-71.
รุ้ง ขันธวิชัย (2566). ศึกษาผลการศึกษาโปรแกรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในสตรีตั้งครรภ์เสี่ยง โรงพยาบาลไชยวาน จังหวัดอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://backooffice.udpho.org>control>download.pdf.