การสร้างเสริมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • พลใส มุลทาเย็น พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การสร้างเสริม, การจัดการตนเอง, ภาวะน้ำเกิน, ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็น การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการและผลการสร้างเสริมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 50 คน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2567 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำเกิน, แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำเกิน และแบบวัดความวิตกกังวล (GAD-7) การวิเคราะห์ข้อมูล: ข้อมูลทั่วไปใช้ค่าจำนวน ร้อยละ, ความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำเกินใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน, พฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำเกินและความวิตกกังวลใช้ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Pair t-test
     ผลการศึกษาพบว่า ก่อน-หลังการพัฒนารูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 2.72 (SD=.340) เพิ่มขึ้น 3.08 (SD=.372) ระดับปานกลาง, การควบคุมปริมาณน้ำดื่ม 2.38 (SD=.656) ระดับน้อย เพิ่มขึ้นเป็น 3.08 (SD=.372) ระดับปานกลาง, อาการและอาการแสดงของภาวะน้ำเกินค่าคะแนนเฉลี่ย 1.54 (SD=.381) ลดลงเป็น 1.31 (SD=.232), คะแนนความรู้เฉลี่ยเกี่ยวกับภาวะน้ำเกิน 9.36 เพิ่มขึ้นเป็น 9.59, ด้านความวิตกกังวลส่วนใหญ่อยู่ในระดับเล็กน้อยก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม

References

กองพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). รูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบเรื้อรังและผู้ดูแล. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพเพ็ญวานิสย์. นนทบุรี.

วรรวิษา สำราญเนตร, นิตยา กออิสรานุภาพและกชณากาญ ดวงมาตย์พล. (2565). ประสบการณ์การจัดการภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 25(2); 41-53.

มานะ ปัจจะแก้วและพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2567). การจัดกระทำเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: การทบทวนอย่างเป็นระบบ. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี, 32(3); 40-55.

เกตุวดี ภู่ไพบูลย์. (2561). การเปรียบเทียบความถี่ในการปฏิบัติที่ถูกต้องในการดูแลตนเองก่อนและหลังการให้ความรู้โดยกระบวนการกลุ่มในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาล บ้านม่วง จังหวัดสกลนคร, วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(3); 34-42.

ฐิติกา พุทธิผลและมยุรี ลี่ทองอิน. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมควบคุมภาวะน้ำเกินของผู้ดูแลและผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: การศึกษานำร่อง. เอกสารการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธิดารัตน์ เพชรชัย และคณะ. (2561). ผลของการใช้แนวคิดการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ารับการบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. วารสารแพทย์นาวี, 45(1); 106-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

มุลทาเย็น พ. . (2024). การสร้างเสริมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 237–244. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3369