ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลเท้า ในผู้ป่วยมุสลิมโรคเบาหวาน บูรณาการศาสตร์การแพทย์แผนไทย ในพื้นที่อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
โรคเบาหวาน, พฤติกรรมการดูแลเท้าบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลเท้า ในผู้ป่วยมุสลิมโรคเบาหวาน บูรณาการศาสตร์การแพทย์แผนไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมุสลิมโรคเบาหวานที่เข้าตามเกณฑ์การคัดเข้า-คัดออก จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน ซึ่งได้รับโปรแกรมฯที่ได้พัฒนาขึ้น และกลุ่มควบคุม 35 คน ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ใช้เวลาการศึกษา 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน แบบคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และ Semmes- Weinstein monofilament ขนาด 5.07 (10 กรัม) จำนวน 1 เครื่อง วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ใช้สถิติ paired t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่าหลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลเท้าภาพรวม(Mean=4.2,SD=0.16) มากกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ (Mean=2.95,SD=0.16) และมากกว่ากลุ่มควบคุม(Mean=3.07,SD=0.41) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value < 0.001) และหลังใช้โปรแกรมฯกลุ่มทดลองมีระดับความเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้า(Mean=1.74,SD=0.44) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม(Mean=2.17,SD=0.38) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=4.330,p-value < 0.001)
References
International Diabetes Federation. (2560). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.idf.org/aboutdiabetes/what-is-diabetes.html
กองโรคไม่ติดต่อ. กรมควบคุมโรค. [อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/index.php
Moxey PW, Gogalniceanu P, Hinchliffe RJ, et al. Lower extremity amputations–a review of global variability in inceidence. Diabet Med 2011;28:1144-53.
Rerkasem K., Kosachunhanun N., Tongprasert S. et al. The Development and Application of Diabetic Foot Protocol in Chiang Mai University Hospital with an aim to Reduce Lower Extremity Amputation in Thai Population: A Preliminary Communication. International Journal of Lower Extremity Wounds 2007;6(1): 18-21.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี จังหวัดปัตตานี [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://ptn.moph.go.th/ita/wp-content/uploads/2022
มาหามะ เมาะลูลา, ยูซูฟ นิมะ. การบูรณาการองค์ความรู้บทบัญญัติศาสนาอิสลามกับการสร้างเสริมสุขภาพโรคเรื้อรัง (โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. สงขลา: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.
Green, L., & Kreuter, M. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach (4th ed.). New York: McGraw-Hill.
บรรจง บินกาซัน. อิสลามสำหรับผู้เริ่มสนใจอิสลาม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสืออิสลาม; 2546: หน้า 35-37. [Internet] เข้าถึง เมื่อ 1 มีนาคม 2566 เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/อาซาน & ละหมาด
Joanna Briggs Institute. [JBI] Institute for evidence based nursing & midwifery. 2008. [Internet] Cited October 14, 2009. Available from http://www.joannabriggs.edu.au
รัชนก หทัยถาวร, มุกดา หนุ่ยศรี, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. ผลของโปรแกรมการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วารสารพยาบาล 2020; (69)4:21-30
นาเดีย รอนิง, ขนิษฐา นาคะ, ทิพมาส ชิณวงศ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลเท้า สุขภาพเท้า และระดับน้ำตาลในเลือดในผู้สูงอายุมุสลิมโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2564; (41)1:74-87
ต้องจิตร เอี่ยมสมบูรณ์, ธราดล เก่งการพาณิช, มณฑา เก่งการพาณิช, ศรัณญา เบญจกูล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าและแผลที่เท้าด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2560; (47)3:289-300
อมิตา ปรารมภ์. ผลการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเองต่ออาการชาเท้าในผู้ที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมเนื่องจากโรคเบาหวาน [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2560
วันนิศา รักษามาตย์. พนม ทองอ่อน. ประสิทธิผลของการเหยียบถุงประคบสมุนไพรกับการแช่เท้าในน้ำสมุนไพรต่ออาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลภูหลวง อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. มีนาคม 2022 ; 3(1):13-27
กมลชนก อบอุ่น. ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร. การพัฒนาครีมนวดเท้าจากน้ำมันขิงเพื่อบรรเทาอาการชาและปวดที่เท้าในผู้ป่วยโรคเส้นประสาทจากเบาหวาน. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2554; 7(1):28-38