การวิจัยประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กร้อยแก่นสารสินธุ์ ดี เก่ง มีสุข เขตสุขภาพที่ 7 (Smart Kids 4.0 Area 7) ปีงบประมาณ 2566 จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การประเมินโครงการ, โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก, การสร้างวินัยเชิงบวกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีจุดประสงค์เพื่อประเมินผลของโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กร้อยแก่นสารสินธุ์ ดี เก่ง มีสุข เขตสุขภาพที่ 7 (Smart Kids 4.0 Area 7) ปีงบประมาณ 2566 จังหวัดขอนแก่น และประเมินผลของโครงการในเรื่องพัฒนาการเด็ก ความฉลาดทางอารมณ์ ทักษะผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และประสิทธิภาพโครงการ มีกลุ่มเป้าหมาย เป็นพื้นที่ดำเนินงาน 26 อำเภอ จำนวน 30 ตำบล ประกอบด้วย 1) ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (ครู ก) ตำบลละ 2 คน จำนวน 60 คน 2) กลุ่มเด็กอายุ 3-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน 1,150 คน และผู้ปกครองเด็ก จำนวน 1,150 คน ประเมินกลุ่มตัวอย่าง ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปรตาม ใช้ paired t-test
ผลการศึกษา พบว่า หลังการดำเนินโครงการ พบว่าจังหวัดขอนแก่น 1) ด้านบริบท ครอบครัวขยายเป็นส่วนใหญ่ ผู้ดูแลหลักในการดูแล เป็นหน้าที่ของ ปู่ ย่า ตา ยาย 2) ด้านปัจจัยนำเข้า บุคลากร ทรัพยากร งบประมาณ และนโยบาย พบว่ามีความพร้อมของการจัดทำโครงการได้ดีมาก 3) ด้านกระบวนการ ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (ครู ก) มีคะแนนค่าเฉลี่ยความรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพิ่มขึ้น ผู้ปกครองมีทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 37.0 ค่าเฉลี่ยทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้นเป็น 90.9 ± 10.7 คะแนน การจัดกระบวนการ ด้วยโปรแกรมการส่งเสริม Smart Kids Area 7: SA 7 สามารถเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ของผู้ปกครองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของเด็กปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยคะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 51.2 ± 5.5 คะแนน และมีพัฒนาการสมวัย คิดเป็นร้อยละ 96.6 เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4)
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM). กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานตามตัวชี้วัดกระทรวง เด็กไทยมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย. เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=1&flag_kpi_year=2021
จันทร์อาภา สุขทัพภ์ (บรรณาธิการ). (2565). เดินหน้า สร้างเด็กไทย ไอคิวดี การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี 2564 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ: โรงพิมพ์บียอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.
จันทร์พิมพ์ สารากร, จุฑามาศ โชติบาง, & มาลี เอื้ออำนวย. (2563). ความรู้และการปฏิบัติของผู้ดูแลหลักเพื่อการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลสาร, 47(1), 1-11. เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2566, จาก http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68760
ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, อมรา ธนศุภรัตนากีรติ, & ลิ่มสืบเชื้อ (บรรณาธิการ). (2565). โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวก โดยครอบครัวมีส่วนร่วม (Preschool Parenting Program; Triple P). เชียงใหม่: บริษัทสยามพิมพ์นานา จำกัด.
ณัฐพร ตุ๊ก ไชยเดช. (2556). การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: GoToKnow. เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/143455
ณัฐวรินทร์ สิริเดชทวีติยา, & มยุรี วัดแก้ว. (2556). การวิจัยประเมินผลโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการติดตามและประเมินผลตามแนวคิดแผนที่ผลลัพธ์ โดยใช้แนวคิดและรูปแบบการประเมินของสเตกและสตัฟเฟิลบีม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5, 226-240.
ธเนตร หลงศรี. (2565). การประเมินโครงการจัดและส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคงสมรรถนะทางกายจิตและสมองของผู้สูงอายุในรูปแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต 4 มิติ. เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2566, จาก http://cmi.nfe.go.th/nfecmiad/myfile/20221124CHmqga2.pdf
ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง, & จิริยา อินทนา. (2564). การวิจัยประเมินผลโครงการอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2564 โดยใช้แนวคิดการประเมินของสตัฟเฟิลบีม. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 2, 36-46.
พิสณุ ฟองศรี. (2551). การเขียนรายงานประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เพชรรุ่งการพิมพ์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). การประเมินโครงการ: การวิจัยเชิงปริมาณ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: คอมแพคปริ๊น.
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory models & application. San Francisco: John Wiley.
ฮาลาวาตี สนีหวี, & อังคณา วังทอง. (2563). การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านพัฒนาการเด็กสำหรับผู้ปกครองในพื้นที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2566, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/HSJT/article/download/240465/164557