การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การติดเชื้อในกระแสโลหิต, รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาล บ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลบ้านไผ่ จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างเกี่ยวกับความคาดหวังของแพทย์และพยาบาลที่มีต่อการดูแลผู้ป่วย และปัญหาในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต และแนวทางการสนทนากลุ่ม 2.) แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติการพยาบาล และความพึงพอใจต่อรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต และ 3.) แบบบันทึกข้อมูลผลลัพธ์ทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะเชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต ประกอบด้วย 6 ประเด็นได้แก่ 1. การใช้ระบบสัญญาณเตือน 2. การประเมินอาการและการปฏิบัติการพยาบาลใน 6 ชั่วโมงแรก 3. การเจาะเลือดและส่งเพาะเชื้อเพื่อหาต้นเหตุของการติดเชื้อ 4. การบริหารยาปฏิชีวนะ 5. การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 6.การบริหารยาควบคุมความดันโลหิต โดยมีแนวทางในการการพยาบาลผู้ป่วย หลังจากนำรูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมาใช้ การปฏิบัติงานของพยาบาลมีความเป็นระบบและมีมาตรฐานมากขึ้น โดยการประเมินผลใน 3 เดือนหลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติงานอยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและพยาบาลวิชาชีพยังมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพยาบาลที่มีความชัดเจนในแนวทางการรักษา
References
สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558. 2558.
ณัฐธยาน์ บุญมาก. การพยาบาลฉุกเฉินในภาวะช็อกจากการติดเชื้อ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาตร์สุขภาพ. 2562;26(1):65–73.
วรลักษณ์ ศรีวิลัย. การพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารพยาบาลตํารวจและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2567;16(1):237–49.
นนทรัตน์ จำเริญวงศ์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์, ชยธิดา ไชยวงษ์. การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2563;7(1):319–30.
พิศาล ชุ่มชื่น,นิตยศรี ดวงอาทิตย์,เครื่องมือประเมินการเฝ้าระวังและป้องกันการเข้าสู่ภาวะวิกฤตของผู้ป่วย. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2564;40(2).
กรรณิกา ศิริแสน. ประสิทธิผลของการใช้ระบบสัญญาณเตือนในการพยาบาลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558.
ทิฏฐิ ศรีวิสัย.ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน. วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2560;9(2):152–62.
ศศิณา รักบำรุง. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธาน [Internet]. Website Academic Research & Innovation โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี; 2567. Available from: www.srth.go.th/home/research (Vol.1 NO.1 February-December, 2024)
รุ่งทิพย์ เจริญศรี, รุ่งรัตน์ สายทอง, จรูญศรี มีหนองหว้า, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2566;29(3):56–74.
จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล และพรทิพย์ จอกกระจาย. การประเมินและการจัดการภาวะช็อคจากการติดเชื้อ. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย. 29 - 30 มีนาคม 2561, 599-609;