การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี ประทุมภาพ นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กิตติ เหลาสุภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, Corresponding author

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการ, มูลฝอยติดเชื้อ, เครือข่ายบริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เหมาะสมสำหรับเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร กลุ่มผู้ร่วมพัฒนา ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร และโรงพยาบาลยโสธรจำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ขั้นตอนการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยของ Kemmis & McTaggart (PAOR) ประกอบด้วยการวางแผนการปฏิบัติการการสังเกตการณ์และการสะท้อนกลับวิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และประเมินผลของรูปแบบฯ โดยใช้สถิติ Paired t-test เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนความรู้และพฤติกรรมก่อนและหลังพัฒนารูปแบบ
     ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังดำเนินการความรู้และพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัญหาและอุปสรรคด้านการบริหารจัดการที่ต้องมีการวางแผนเพื่อแก้ไปญหาระยะยาว ได้แก่ การจัดหาสถานที่รับฝากมูลฝอยติดเชื้อ การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และเพิ่มกำลังคนในการขนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ การจัดทำข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และปัญหา 2) การวางแผนและกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 3) การติดตามและประเมินผล และ 4) การปรับปรุงและพัฒนาต่อเนื่อง

 

References

Kemmis S, & McTaggart R. Participatory Action Research: Communicative Action in the Public Sphere, in N.Denzin and Y.Lincoln (Eds.) Handbook of Qualitative Research. California: Sage; 2000.

มนันญา ภู่แก้ว. (2563) ปัญหามูลฝอยติดเชื้อจากโรคระบาดโควิด-19.สืบค้นเมื่อเดือนตุลาคม 2566 จาก

https://cdc.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2599

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนขับเคลื่อนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ระยะที่ 1 พ.ศ. 2565 – 2570.

ประจวบ แสงดาว และวิสาขา ภู่จินดา. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน เขตสุขภาพที่ 4. The Southern Network Journal of Nursing and Public Health. 2565;9(2):193-207.

อาคม กินาวงศ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อองค์การบริหารส่วนตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2566;6(2):149-158.

ศุภลักษณ์ ดำรงเชื้อ. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน จังหวัดภูเก็ต. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2566;46(3):50-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ประทุมภาพ ส., & เหลาสุภาพ ก. (2024). การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 290–296. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3374