การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
เว็บแอปพลิเคชัน, สมุนไพร, บุคลากรทางการแพทย์, การวิจัยและพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การเตรียมการ ผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ และการศึกษามุมมองของบุคลากรทางการแพทย์ต่อรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลเป็นบุคลากรทางการแพทย์จำนวน 10 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเป็นเว็บแอปพลิเคชันต้นแบบ ชื่อ Check Herbs ระยะที่ 2 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน โดยการนำเว็บแอปพลิเคชันต้นแบบไปให้ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรทางการแพทย์ทดลองใช้งานและนำไปปรับปรุง 2 รอบ แต่ละรอบใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 ทดสอบประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชัน 1) การประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน 2) การประเมินประสิทธิภาพในการใช้งานจากกลุ่มผู้ใช้เพื่อประเมินความพึงพอใจและการประเมินความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพร โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการแพทย์จำนวน 50 คน
ผลการวิจัยระยะที่ 1 จากการค้นคว้าข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องพบว่าข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับยาสมุนไพรมีอยู่อย่างกระจัดกระจายและขาดความครบถ้วน และผู้ให้ข้อมูลต้องการแอปพลิเคชันที่มีเนื้อหาของยาสมุนไพรที่ครบถ้วน ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ผลระยะที่ 2 จากการทดลองใช้ครั้งที่ 1 พบว่าการประมวลผลยังไม่เชื่อมโยงกับการกรอกข้อมูลในบางส่วน รูปแบบการใช้ซับซ้อน สีของไอคอนยังไม่สวยงาม แต่เนื้อหาของยาสมุนไพรมีเพียงพอต่อความต้องการใช้งาน หลังจากปรับปรุงแล้วนำไปทดลองใช้ครั้งที่ 2 พบว่าการประมวลผลเชื่อมโยงอย่างถูกต้อง สีเหมาะสม ใช้งานสะดวก ผลระยะที่ 3 พบว่าการประเมินคุณภาพของเว็บแอปพลิเคชัน การประเมินความพึงพอใจและการประเมินความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรอยู่ในระดับมาก และกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มมากขึ้นหลังจากทดลองใช้เว็บแอปพลิเคชัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
References
ราชกิจจานุเบกษา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. 2560.ฃ
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. หนังสือราชการ ที่ สธ. 0201.032/ว 1707 เรื่อง โครงสร้างและกรอบอัตรากำลังหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 9 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://hr.moph.go.th/site/hr_moph/?page_id=36723
ชุษณะ มะกรสาร, ศิวาพร สังรวม. ยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์ของประเทศ. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2558.
กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ. แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์แผนไทย; 2566.
กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐาน. 2566. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
ปวันรัตน์ กิจเฉลา, วิศรี วายุรกลุ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสั่งจ่ายยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของแพทย์แผนปัจจุบันในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(2):145-158.
ธีราวุฒิ มีชานาญ. การประเมินการใช้ยาสมุนไพรและยาแผนไทยของสถานพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2558;2:167-77.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. กลุ่มรายงานมาตรฐาน. 2566. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
AlRoobaea R, Mayhew PJ. How many participants are really enough for usability studies? In: 2014 Science and Information Conference. IEEE; 2014. p. 48-56. https://doi.org/10.1109/SAI.2014.6918171
วิลาสินี หงสนันทน์, ศุภชัย อินสุข. การพัฒนาแบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันทางสุขภาพของไทย. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562;11(1):181-93.
Bloom BSJ. Taxonomy of educational objectives, hand book 1: Cognitive domain. New York: David McKay; 1975.
กัลยา วานิชย์บัญชา, ฐิตา วานิชย์บัญชา. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพฯ; 2558.
คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ. แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566- 2570. นนทบุรี: กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
Delone WH, McLean ER. The DeLone and McLean model of information systems success: A ten-year update. J Manag Inf Syst. 2003;19(4):9-30. https://doi.org/10.1080/07421222.2003.11045748
Chandran VP, Balakrishnan A, Rashid M, Pai Kulyadi G, Khan S, et al. Mobile applications in medical education: A systematic review and meta-analysis. PLOS ONE. 2022;17(3).
Enioutina EY, Salis ER, Job KM, Gubarev MI, Krepkova LV, Sherwin CMT. Herbal medicines: challenges in the modern world. Part 5. status and current directions of complementary and alternative herbal medicine worldwide. Expert Rev Clin Pharmacol. 2016;10(3):327-38.
Davis FD. Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Q. 1989;13(3):319-40. https://doi.org/10.2307/249008
พัทธนันท์ มารียาห์ แสงกุหลาบ, อัญณิฐา ดิษฐานนท์. องค์ประกอบความสำเร็จของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ กรณีศึกษา ระบบการค้นหาการบริการสุขภาพ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 2563;16(1):35-47.
สุชานันท์ แก้วกัลยา, ธนากร อุยพานิชย์. การพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำการใช้สมุนไพรไทยเพื่อเสริมความงาม. [โปสเตอร์]. การประชุมวิชาการในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2; 19 มกราคม 2562; มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.